The Study of Management of Audio/Video Broadcasting under OTT System in Thailand
Abstract
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “การศึกษาการกำกับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ของประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องในการกำกับดูแลระบบ OTT ในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับการกำกับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพของต่างประเทศ ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะที่ได้จากการเปรียบเทียบในแนวทางการกำกับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ให้มีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาพบว่า การกำกับดูแลการแพร่เสียงแพร่ภาพในระบบ OTT ในประเทศไทย มีข้อบกพร่องอยู่ 3 ประการ คือ ประการแรก ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลการให้บริการ OTT ทำให้การให้บริการ OTT ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแต่เพียงอย่างเดียว ส่งผลให้เกิดปัญหาประการที่สองและประการที่สามในเรื่องของเนื้อหาที่ทำการเผยแพร่ในบริการ OTT นั้น ผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์ และปัญหาความเป็นกลางในการให้บริการ (Net Neutrality) กล่าวคือ ผู้ให้บริการ OTT อาจจะขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงเนื้อหาที่เผยแพร่ได้ทั้งหมด หรือลดคุณภาพของการรับส่งข้อมูลในการเข้าถึงเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งปัญหาทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าหากประเทศไทยการที่มีหน่วยงานหรือองค์กรทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรงเช่นเดียวกับต่างประเทศนั้นจะทำให้บริการ OTT เกิดประสิทธิภาพทั้งแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
จากข้อค้นพบดังกล่าว การวางแนวทางในการกำกับดูแลการให้บริการ OTT ของต่างประเทศนั้นมีประสิทธิภาพอย่างมากเพราะต่างมีองค์กรหรือหน่วยงานในการกำกับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรง และทำให้ไม่เกิดปัญหาและผลกระทบตามมาจากการให้บริการ OTT อย่างเสรี ผู้วิจัยจึงได้มีการเสนอแนะแนวทางว่า ประเทศไทยต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานหรืองค์กรขึ้นมาทำการกำกับดูแลการให้บริการ OTT โดยตรง เพื่อกำกับดูแลในการให้บริการ OTT ในรูปแบบของการขอใบอนุญาตเพื่อประกอบการให้บริการ ซึ่งจะต้องผ่านหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่หน่วยงานหรือองค์กรดังกล่าวกำหนด ซึ่งมุ่งคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการให้มีความเหมาะสมในการเข้าถึงข้อมูลและเพื่อให้เกิดการกำกับดูแลเนื้อหาที่เผยแพร่อย่างถูกกฎหมายและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของเนื้อหาด้วย
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และกองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อคิดเห็นนั้น แต่ประการใด