การบริหารจัดการทรัพยากรร่วมบนฐานการสร้างความมั่นคงทางนิเวศ อย่างยั่งยืน กรณีศึกษาประมงพื้นบ้านชายฝั่งทะเล อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม, ความมั่นคงทางนิเวศ, ประมงพื้นบ้านบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลและปัญหาของชาวประมงพื้นบ้าน เพื่อเสนอตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมบนฐานการสร้างความมั่นคงทางนิเวศอย่างยั่งยืนของชาวประมงพื้นบ้าน อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และเสริมด้วยการเก็บข้อมูลจากวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก และเสวนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน ช่วงก่อนรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกิดการแย่งชิงทรัพยากรชายฝั่งระหว่างเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพาณิชย์ ภายหลังรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทำให้กฎหมายและบทลงโทษมีความเข้มงวดขึ้น ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านเริ่มทำการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เช่น การทำบ้านปลาหรือซั้งกอในเขตสามไมล์ทะเล ฯลฯ แต่ปัญหาที่ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรยังไม่ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ปัญหาการห้ามทำการประมงทะเลในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ปัญหาเรือลากกระพรุนทำลายหน้าดินทะเลชายฝั่ง ปัญหาการสร้างกติกาชุมชนที่ขาดความเป็นเอกภาพ ปัญหาการถูกผลักดันให้ลดเขตทะเลชายฝั่ง และปัญหาการเป็นตัวแทนในการมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้าน ข้อเสนอตัวแบบในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมบนฐานการสร้าง ความมั่นคงทางนิเวศ อาทิ การใช้หลักทรัพยากรร่วม ชุมชนจัดการตนเอง การบริหารจัดการร่วมกับภาครัฐ การบริหารจัดการภาคีเครือข่าย และการกำหนดผู้ใช้ทรัพยากร
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). กำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 20 พฤศจิกายน 2562
กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านแหลมสิงห์. (2567, 22 พฤษภาคม). ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสิงห์. สัมภาษณ์.
. (2567, 15 กรกฎาคม). ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสิงห์. สัมภาษณ์.
ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2541). รัฐกับชุมชนในกระบวนการพัฒนาชนบทไทย: การวิจัยเชิงมานุษยวิทยา. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชล บุนนาค. (2555). การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: กรณีศึกษาชุมชนประมงพื้นบ้านในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาย โพธิสิตา (2554). ศิลปะการวิจัยเชิงคุณภาพ: มุมมองและประสบการณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
นาย ก นามสมมติ. (2566, 20 ตุลาคม). นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน. สัมภาษณ์.
. (2567, 11 มกราคม). นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน. สัมภาษณ์.
. (2567, 28 มิถุนายน). นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน. สัมภาษณ์.
นาย ข นามสมมติ. (2567, 9 กุมภาพันธ์). ชาวประมงพื้นบ้านเกาะเปริด. สัมภาษณ์.
. (2567, 24 มีนาคม). ชาวประมงพื้นบ้านเกาะเปริด. สัมภาษณ์.
. (2567, 28 มิถุนายน). ชาวประมงพื้นบ้านเกาะเปริด. สัมภาษณ์.
นาย ค นามสมมติ. (2567, 11 มกราคม). ชาวประมงพื้นบ้านบางกระไชย. สัมภาษณ์.
นาย ง นามสมมติ. (2567, 17 ธันวาคม). ชาวประมงพื้นบ้านเกาะแมว. สัมภาษณ์.
นาย จ นามสมมติ. (2567, 17 ธันวาคม). ชาวประมงพาณิชย์แหลมสิงห์. สัมภาษณ์.
นาง ฉ นามสมมติ. (2567, 25 มีนาคม). เจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์.
. (2567, 10 มิถุนายน). เจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์.
นาย ช นามสมมติ. (2567, 11 มกราคม). เจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าจังหวัดจันทบุรี. สัมภาษณ์.
นาย ซ นามสมมติ. (2567, 27 มีนาคม). นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำแหลมสิงห์. สัมภาษณ์.
นาง ฌ นามสมมติ. (2567, 11 มกราคม). ผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อแหลมสิงห์. สัมภาษณ์.
พรเทพ ทองดี. (ม.ป.ป.). การศึกษาผลกระทบจากมาตรการแก้ไขปัญหาทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ที่มีต่อกลุ่มประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และคณะ. (2561). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแก้ไขการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม: กรณีศึกษาพื้นที่ภูมินิเวศน์อ่าวตราด จังหวัดตราด. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมาคมรักษ์ทะเลไทย.(2563). บ้านปลา(ซั้งกอ) เป็นมากกว่าการอนุรักษ์. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/thaiseawatch/photos. (20 สิงหาคม 2566)
สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาจันทบุรี. (2567). ประชุมรับฟังความคิดเห็นเขตทะเลชายฝั่งบริเวณหินบอยเซ็น. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://chanthaburi.md.go.th/2024/03/27. (27 มีนาคม 2567)
อัศวิน แก้วพิทักษ์. (2558). บทบาท ผลกระทบ และมาตรการแก้ไขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในเขตชุมชนชาวประมงของจังหวัดชายแดนไทย - กัมพูชา : กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Ostrom, E. (1999). Governing the commons: The evolution of institutions for collective action. Cambridge University Press.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
