ผลกระทบของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-2019) ต่อสภาพเศรษฐกิจ และสังคม และแนวทางการจัดการของชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ 1) ผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 (COVID-19) ต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต ในพื้นที่อำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต และ 2) แนวทางการจัดการของชุมชนชายฝั่ง โดยการวิจัยแบบผสม (mixed method) เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ เก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 380 ครัวเรือน และประชุมกลุ่มย่อยกับสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจำนวน 2 ครั้ง และประชุมระดับจังหวัดจำนวน 1 ครั้ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.1 ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด เช่น ต้นทุนในการประกอบอาชีพมีราคาสูงขึ้น ขายของได้น้อยลง ต้องปิดกิจการ มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น และมีภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนชายฝั่งภูเก็ต มี 4 ตัวแปร 1) การเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ 2) แหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 3) แหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินธนาคารพานิชย์ และ 4) ภาวะหนี้สิน แนวทางการจัดการเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การลดรายจ่ายครัวเรือนและหารายได้เสริม โดยมีกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรค ในระยะยาว จำนวน 4 กลยุทธ์ 1) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและสังคมบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) ยกระดับผลผลิตชุมชนชายฝั่งให้มีมูลค่าสูงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนชายฝั่ง 3) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารตามแนวทางกองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินท้องถิ่น และ 4) ส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศป่าชายเลน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธฺ์ของวารสารเกษตร มสธ.
ข้อความที่ปรากฎใน
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). ฐานข้อมูลชุมชนชายฝั่งในประเทศไทย โดย กองจัดการชุมชนชายฝั่งและเครือข่าย กรมทรัยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ไฟล์เอกสารไม่เผยแพร่)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2565). โครงการของการระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า-2019 ต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชายฝั่ง และแนวทางจัดการ. รายงานผลสัมฤทธิ์สำหรับทุนสนับสนุนมูลฐาน (Fundamental Fund). กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.
กรมประชาสัมพันธ์. (2564, 25 ธันวาคม). Phuket Sandbox. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/64333
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564, 10 พฤษภาคม). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562. ข้อมูลนำเสนอสถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 และ 4 ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20190819123309.pdf
ณัฐพล นาคพาณิชย์. (2564). ถอดบทเรียนโควิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์การวิจัยเรื่องการประเมินความเสียหาย ผลกระทบ และการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. กรุงเทพฯ, สถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (2564). ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย. กรุงเทพฯ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (2564, 31 พฤษภาคม). รายงานพิเศษผลกระทบวิกฤตโควิด 19 ชาวประมงพื้นบ้านปรับตัวอย่างไร. สืบค้นจาก http://repository.seafdec.or.th › bitstream › handle
สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2564, 14 พฤษภาคม). รายงานสถิติจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1xlMVfZtHplPTBj2j6YMP0hUQdmRQ-KM1/view
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 14 พฤษภาคม). เอกสารประกอบการระดมความเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2564, 26 กันยายน). รายงานสถานการณ์ COVID -19 จังหวัดภูเก็ต. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/83ssj/
อิสระ ชาญราชกิจ, เพ็ญจันทร์ ละอองมณี, จิระศักดิ์ หลานหมิน, ธัญลักษณ์ เสือสี, จริยา ศรเกลี้ยง, รัตนา เตี้ยเย, สันติพงษ์ ปุตสะ. (2564, 15 มิถุนายน). ผลกระทบวิกฤตโควิด19 ที่มีต่อชาวประมงพื้นบ้านและการปรับตัวของชาวประมงพื้นบ้าน. สืบค้นจาก https://repository.seafdec.or.th/handle/20.500.12067/1470
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistics, (Second Edition). New York: Harper & Row