ศักยภาพของกองเรือพาณิชย์ไทยในการจัดการน้ำอับเฉาเรือ
Keywords:
การจัดการน้ำอับเฉาเรือ, ระบบบำบัดน้ำอับเฉา, Ballast Water Management, Ballast Water Treatment SystemAbstract
บทคัดย่อ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอน ปี ค.ศ.2004 ได้มีการวิเคราะห์และอภิปรายในประเด็นสำคัญที่หลากลายและในมุมมองที่แตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และนโยบายของประเทศต่างๆ เช่น มาตรฐานของระบบบำบัดน้ำอับเฉาและการบังคับใช้กฎหมายของรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา (International Maritime Organization, 2012b, 2012a) หรือบทบาทของสถาบันการเงินในสหภาพยุโรป เป็นต้น (International Maritime Organization, 2011e) ซึ่งยังไม่มีการศึกษาใดที่เกี่ยวข้องกับบริบทของประเทศไทย ดังนั้นความมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นไปเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมการปฏิบัติในด้านต่างๆ เพื่อรองรับอนุสัญญาฯ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริษัทสายเรือของประเทศไทย โดยงานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในบริษัทสายเรือไทยจำนวนทั้งสิ้น 8 บริษัท โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศและภูมิภาคใกล้เคียงและกลุ่มบริษัทขนส่งสินค้าที่มีเส้นทางเดินเรือไปทั่วโลกจำนวนอย่างละ 4 บริษัท การเก็บข้อมูลนั้นดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 55 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าบริษัทสายเรือต่างๆ ในกองเรือพาณิชย์ไทยมีระดับความพร้อมและการเตรียมการปฏิบัติเพื่อรองรับอนุสัญญาฯ ที่สามารถนำเสนอได้เป็น 4 ด้านสำคัญดังนี้ คือ 1) ด้านบุคลากร บุคลากรพาณิชย์นาวีของไทยมีความรู้ในการจัดการน้ำอับเฉาเรืออยู่ในระดับที่ดี 2)ด้านงบประมาณ เฉพาะบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกบางแห่งเท่านั้นที่มีการเตรียมการและมีความพร้อมด้านงบประมาณไว้ 3) ด้านตัวเรือ ปัจจุบันกองเรือพาณิชย์ของไทยมีความพร้อมในด้านงานธุรการและการปฏิบัติในการเปลี่ยนถ่ายน้ำอับเฉาตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ แต่ยังขาดความพร้อมในการบำบัดน้ำอับเฉาเรือ กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าภายในประเทศไม่ได้ให้ความสำคัญและขาดการเตรียมการที่ดี และ 4) ด้านมาตรการในการบริหารจัดการ ในขณะที่กลุ่มบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าทั่วโลกมีความตื่นตัวมาก จึงได้กำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในหลายประเด็นและมีการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งหมดให้ความสำคัญกับการอบรมความรู้บุคลากร มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเทคนิคของเรือในกองเรือและบางแห่งมีการจัดหางบประมาณที่เกี่ยวข้องไว้เรียบร้อยแล้ว จากสถานภาพความพร้อมในปัจจุบันจึงนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติและเตรียมความพร้อมในแต่ละด้าน และนำไปให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น โดยพิจารณาที่ตัวเกณฑ์ความสำคัญของแนวทางและความง่ายในนำไปการปฏิบัติเพื่อจัดระดับความเร่งด่วนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมคำสำคัญ: การจัดการน้ำอับเฉาเรือ ระบบบำบัดน้ำอับเฉาAbstract Up to the present, there have been anumber of studies relating to the international convention for a control andmanagement of ships’ ballast water and sediments 2004 and those have beenanalyzed and discussed in various aspects and different points of view. Manystudies available were done in the western countries and mentioned specificallyin terms of their social, economical, environmental, and political issues,which were considered not relevant to Thai’s; for example, a study of ballast watertreatment standard and law enforcement in the US and the supporting role offinancial institute in the EU. This survey research was thus conducted in orderto obtain the data needed for compliance with the international convention fora control and management of ships’ ballast water and sediments 2004 (BWMconvention) and to develop a practical guidance for Thai merchant fleet.Questionnaires were distributed to subjects who were working in 8 Thai shippingcompanies, which were divided in half and grouped as local companies and theworldwide ones, and also in-depth interviewing was done to the experts.Information from 55 responding individuals and the interviewees was evidencedthe level of readiness and preparation and brought to analyze in 4 areas asfollows: personnel, budget, fleet and managerial strategies. Focusing on humanresources, it was found that the understanding of ballast water management ofThai personnel is excellent. By considering a financial acquisition, someworldwide companies has prepared for their budgets. Regarding the existingstatus of Thai fleet, it is found that most of Thai merchant ships are not onlyready for the administrative works but also meet the ballast water exchangestandard D1. However, it still fail for a ballast performance standard D2requiring onboard treatment facilities, which today are unfound in any types ofvehicle. In managerial strategies, the findings have shown that local companieshave no attentions and preparations for the BWM convention whereas theworldwide ones are highly alert and well prepared. A staff training and shipdata recording approach have been done in all companies with the internationalship routes and a budget acquisition is now achieved in some of thosecompanies. From the findings, a practical guidance was well developed. Byconsidering its significance and simplicity a criterion, the guidance wassubsequently brought to the experts for the purpose of ranking the state ofurgency.Keywords: Ballast Water Management, Ballast Water Treatment SystemPublished
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.