การวัดมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคกระแสเงินสดคิดลด

Authors

  • วิศรุต ศรีบุญนาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวัดมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคกระแสเงินสดคิดลดจำเป็นต้องมีการปรับตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณด้วยความเสี่ยงของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้การวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและเชื่อถือถือได้ วิธีการปรับความเสี่ยงในแบบจำลองสามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ (1) เทคนิคการปรับอัตราคิดลด และ (2) เทคนิคมูลค่าปัจจุบันที่ค่าคาดหวัง โดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยหรือฐานนิยมเป็นพื้นฐานในการกำหนดประมาณการที่ดีที่สุดของกระแสเงินสดที่คาดหวัง การเลือกตัวชี้วัดทางสถิติดังกล่าวขึ้นอยู่กับลักษณะของกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์หรือหนี้สินที่กิจการจะวัดมูลค่ายุติธรรมและวัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่ายุติธรรม

การวัดมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินต้องพิจารณาความเสี่ยงที่กิจการจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอันเกิดจากความเสี่ยงด้านเครดิตของกิจการ การปรับมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินลดลงและก่อให้เกิดกำไรในสภาพแวดล้อมที่กิจการมีปัญหาและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ใช่สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงที่กิจการจะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้เกิดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลดลง และมีความเป็นไปได้บางส่วนที่เจ้าหนี้อาจต้องร่วมรับรู้ผลขาดทุนนั้น ทำให้มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินลดลงและก่อให้เกิดกำไรเชิงเศรษฐกิจแก่เจ้าของ

คำสำคัญ: การวัดมูลค่ายุติธรรม เทคนิคกระแสเงินสดคิดลด

 

Abstract

Fair value measurement through discounted cash flows technique requires risk adjustments for its relevance and reliability. There are two approaches for the risk adjustments: (1) Discount rate adjustment technique, and (2) Expected present value technique. Means and Modes normally form a basis in determining the best estimate of expected cash flows. The choice of statistical measures rest on the nature of cash flows associated with the asset or liability and the objective of fair value measurement.

Fair value measurement of liabilities shall take into account the non-performing risk arising from entity’s own credit risk.  A decrease in a liability’s fair value, resulting in income in the face of financial difficulties and non-performing risk, is not an anomaly in itself.  The non-performing risk arises from an unexpected decline in asset value, which is potentially absorbed by creditors.  The creditor’s potential participation in the loss causes a decline in fair value of a liability and results in economic income for owners.

keywords: Fair Value Measurement, Discounted Cash Flow Technique

Author Biographies

วิศรุต ศรีบุญนาค, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

Published

2014-07-18

How to Cite

ศรีบุญนาค ว., & โกมุทพุฒิพงศ์ ณ. (2014). การวัดมูลค่ายุติธรรมด้วยเทคนิคกระแสเงินสดคิดลด. Creative Business and Sustainability Journal, 36(2), 16–31. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/19920