การประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการหยิบสินค้า

Authors

  • ณัฐวดี ปัญญาพานิช บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

แบบจำลองสถานการณ์, กระบวนการหยิบสินค้า, ประสิทธิภาพ, simulation, order picking process, efficiency

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองสถานการณ์สำหรับการวิเคราะห์กระบวนการหยิบสินค้าที่เป็นสาเหตุทำให้องค์กรจัดเตรียมสินค้าส่งลูกค้าล่าช้า แบบจำลองได้ถูกนำมาใช้เพื่อการประเมินการเปลี่ยนแปลงนโยบายการจัดการคลังสินค้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการหยิบสินค้าใน 2 ลักษณะ คือ 1) การปรับเปลี่ยนวิธีการหยิบสินค้า และ 2) การปรับการจัดวางตำแหน่งจัดเก็บสินค้าและพื้นที่รวบรวมสินค้าใหม่ ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรม “ExtendSim8” การศึกษานี้ได้ใช้คลังสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์แห่งหนึ่งเป็นกรณีศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าการปรับการจัดวางตำแหน่งจัดเก็บสินค้าทำให้ระยะเวลารวมและระยะทางในการเดินหยิบสินค้าลดลงร้อยละ 6.92 และ 44.10 ตามลำดับ ส่วนการปรับเปลี่ยนวิธีการหยิบสินค้าจากการหยิบสินค้าทีละคำสั่งมาเป็นการหยิบสินค้าแบบแบ่งเขตสามารถลดระยะทางในการเดินหยิบสินค้าได้ถึงร้อยละ 83.26 ในขณะที่พนักงานเกิดเวลารอคอยและใช้ระยะเวลารวมในการหยิบสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.38 โดยระยะเวลารวมของการทำงานในแต่ละวันจะลดลงได้หากพนักงานหยิบสินค้าแต่ละเขตมีปริมาณงานที่สมดุลกัน โดยผลลัพธ์จากแบบจำลองสถานการณ์จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการนำแนวทางต่างๆไปปฏิบัติภายใต้กระบวนการตัดสินใจปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: แบบจำลองสถานการณ์, กระบวนการหยิบสินค้า, ประสิทธิภาพ

Abstract

The research aims to develop a simulation model for analyzing the order picking process which causes the organization to delivery delays.  The model is later applied to objective is to evaluate two aspects of warehouse operation policy changes affecting the efficiency of order picking process: 1) new picking method and 2) stock and depot relocation with the application of the “ExtendSim8” package. A warehouse serving electronic components operated by freight forward is chosen as the case study.  

The result shows that the stock and depot relocation would shorten picking time and picking distance 6.92% and 44.10% respectively.  Implementing zone picking can reduce picking distance 83.26% over the existing single order picking practice while it increases the waiting time for pickers to complete the overall picking process by 9.38%.  The total duration for picking system will be reduced if the work load is well balanced. The analysis results provided by the simulation model would provide information on the merits of improvement alternatives that would aid decision-making in improving warehouse operation.

Keyword: simulation, order picking process, efficiency                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

Author Biographies

ณัฐวดี ปัญญาพานิช, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขา)

สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์

Downloads

Published

2015-07-23

How to Cite

ปัญญาพานิช ณ., & ศิริโสภณศิลป์ ส. (2015). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการหยิบสินค้า. Creative Business and Sustainability Journal, 37(2), 24–50. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/37412