การเปิดตลาดแรงงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุญี่ปุ่น: กรณีศึกษาแรงงานฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

Authors

  • พัฒน์นรี ศรีศุภโอฬาร อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ณัฐพล อัสสะรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ, สังคมผู้สูงอายุ, การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, แรงงานต่างชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

การเปิดตลาดแรงงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุญี่ปุ่นตามข้อตกลงในการเจรจาการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (ผู้ให้บริการเป็นตัวบุคคล) สาขาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปทำงานในสถานพยาบาลดูแลผู้สูงอายุภายใต้การกำกับของรัฐในประเทศญี่ปุ่นในปี 2550 และ 2551 ตามลำดับนั้นนับว่าเป็นความพยายามเบื้องต้นที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการที่ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบผ่านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยก็มีความพร้อมและมีความสนใจที่จะเจรจาในสาขานี้เช่นกันแต่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้ในขณะนี้ โดยกำหนดให้มีการเจรจาอีกครั้งภายในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นบทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับโครงสร้างตลาดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่นและกรณีศึกษาของแรงงานฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียที่ได้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นแล้ว โดยเน้นข้อมูลพื้นฐานและวรรณกรรมที่เผยแพร่โดยรัฐบาลญี่ปุ่น นักวิชาการ และสื่อมวลชน รวมถึงความคิดเห็นของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังมีการเผยแพร่อย่างจำกัดในประเทศไทย คณะผู้เขียนคาดว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาข้อเจรจาและการเตรียมความพร้อมในกรณีการส่งแรงงานของไทยต่อไป

คำสำคัญ : การเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  สังคมผู้สูงอายุ  การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  แรงงานต่างชาติ

Abstract

The Economic Partnership Agreement between Japan and the Philippines and Indonesia in 2007 and 2008 on the movement of natural persons in elderly care giving services reflects the Japanese government attempts to resolve problems that are rooted from being an aging society via international trade in services. Thailand also urged to conclude on the similar agreement but the negotiation is prolonged to the next few years. Thus, this article aims to review literatures and basic data published by the Japanese government, Japanese academia and Japanese mass media as well as Japanese elderly opinion in addition to case studies of the Filipino and Indonesian care givers in Japan. Because the access to these data is still very limited in Thailand, the authors intend to render information for concerned parties in the trade negotiation, public policy setting and the preparation of labor mobility management in the future.

Keywords : Economic Partnership Agreement, Aging Society, Elderly Care Giving, Foreign Labor

Downloads

Published

2012-11-14

How to Cite

ศรีศุภโอฬาร พ., & อัสสะรัตน์ ณ. (2012). การเปิดตลาดแรงงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุญี่ปุ่น: กรณีศึกษาแรงงานฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย. Creative Business and Sustainability Journal, 33(2), 17–39. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3870