การวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน ของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯกับฮ่องกงและสิงคโปร์

Authors

  • ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Keywords:

ศักยภาพ, การจัดการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง, การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งเพิ่มศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯด้วยการเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของกรุงเทพฯกับสิงคโปร์และฮ่องกง และให้ข้อเสนอแนะแก่ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯ
ผู้ให้ข้อมูลด้วยแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้คือระดับผู้บริหารของกลุ่มผู้ให้บริการ (Service provider) จำนวน 101 ราย กลุ่มผู้รับบริการ (User) 133 ราย และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จำนวน 58 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมระดมความคิดเห็น และการสังเกตการณ์ ระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนสิงหาคม 2552 เทคนิคการวิเคราะห์ที่ใช้ ได้แก่ (1) สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) (2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติต่อการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ (สถิติที่ใช้คือ Levene test, F-Test, LSD, Brown-Forsythe, Dunnett T3, Independent t-test ตามแต่กรณี) (3) เทคนิคการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและระดับการปฏิบัติงาน (Importance Performance Analysis: IPA) และ (4) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
จากการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ พบว่า กรุงเทพฯมีสมรรถนะที่ด้อยกว่าสิงคโปร์และฮ่องกง และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อเพิ่มศักยภาพ เรียงตามลำดับความสำคัญเป็นดังนี้ 1.เสถียรภาพทางการเมืองและนโยบาย 2. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในธุรกิจฯ 3.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.การเดินทางถึงสถานที่พัก/สถานที่ประชุม (รวมถึงการเดินทางทางอากาศเข้าสู่เมืองที่จัดงาน) 5. สุขอนามัย 6.คุณภาพและความเพียงพอของบริการอินเตอร์เน็ต 7.การสนับสนุนจากภาครัฐ 8.การเดินทางภายในเมือง (ความหลากหลาย ความสะดวก ความหนาแน่นของการจราจร) 9.ความสามารถของผู้จัดการประชุมมืออาชีพ 10.ความสามารถของผู้จัดนิทรรศการมืออาชีพ 11.ความพร้อมของสถานที่แสดงนิทรรศการ(ขนาดพื้นที่และการจัดการ) 12.ความพร้อมของสถานที่จัดประชุม (ขนาดพื้นที่และการจัดการ) 13. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 14.การสนับสนุนจากภาคเอกชน 15.การตรวจคนเข้าเมือง (ความสะดวก ความรวดเร็ว และการจัดการแก้ไขปัญหา) 16.ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมและนิทรรศการ และผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพตามแต่ละปัจจัย เช่น
- ปรับปรุงการทำงานของ ปปช. และ สสปน. ให้มีนโยบายและงบประมาณที่มั่นคง
- ปรับปรุงระบบการศึกษา เน้นการปฏิบัติจริง
- เร่งสร้างระบบคมนาคมที่เกี่ยวข้อง

คำสำคัญ : ศักยภาพ การจัดการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน

 

Abstract

This research aims to improve Bangkok’s international convention and exhibition business by benchmarking with Singapore and Hong Kong. The objectives are to measure the comparative performance of Bangkok to Singapore and Hong Kong and to provide recommendation to the international convention and exhibition business of Bangkok.
The sample groups in this research are the executive of service providers (101 persons), the users (133 persons) and the stakeholders (58 persons). The sampling technique is Purposive Sampling. And data collection method use questionnaires, in-depth interviews, brainstorming and observations during March - August 2009. The analysis method are (1) Descriptive statistics (frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation)(2) Compare means (Levene test, F-Test, LSD, Brown-Forsythe, Dunnett T3, Independent t-test) (3) Importance Performance Analysis: IPA (4) Content analysis.
The results are, some factors of Bangkok benchmarking with Singapore and Hong Kong that are lesser potential and must be improved by priority as follows, 1.Political stability 2.Ability to use English language of the employees in the convention & exhibition events 3.Safety and security system 4.Accessibility to venue/accommodation (including air route (number of airlines and airport service)) 5.Sanitation and health system 6.Internet service (quantity and quality) 7.Support from government. 8.Alternative modes of transportation in the city (variety, sufficiency and traffic jam) 9.Ability of professional convention organizers. 10.Ability of professional exhibition organizers. 11.Potential of exhibition venues (Size, Administration) 12.Potential of convention venues (size and administration) 13.Physical environment. 14.Support from the private sector. 15.The immigration process (convenience, quickness and problem management) 16.Costs of conventions and exhibitions. And the researchers have proposed the recommendations in each factor such as
- Improve the National Anti-Corruption Commission (NACC) and the Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB) to have a stable policies and secured annual budgeting
- Improve the Education system, Emphasize the practical part such as Cooperative Education
- Establish the related communication system immediately

Keywords : Potential, International Convention and Exhibition, Bangkok, Singapore, Hong Kong, Benchmark,IPA

Downloads

How to Cite

ลิ้มคุณธรรมโม ศ. (2012). การวิเคราะห์ระดับความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน ของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติของกรุงเทพฯกับฮ่องกงและสิงคโปร์. Creative Business and Sustainability Journal, 34(1), 51–88. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3872