การจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน โดยวิธีแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น

Authors

  • อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชูศรี เที้ยศิริเพชร รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การจัดการโซ่อุปทาน, การจัดลำดับความสำคัญ, กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP), แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินการโซ่อุปทาน (SCOR)

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองที่จะช่วยให้ผู้จัดการโซ่อุปทานกำหนดค่าน้ำหนักความสำคัญของมาตรวัดสมรรถนะและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน โดยบูรณาการแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินการโซ่อุปทาน (SCOR) ในระดับที่ 1 เข้ากับกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน งานวิจัยนี้ เก็บข้อมูลจากกรณีศึกษาเพื่อแสดงความสามารถในการใช้งานของแบบจำลองที่เสนอ เก็บรวบรวมข้อมูลดุลยพินิจที่เกี่ยวข้องจากผู้ประเมิน และนำมาดำเนินการโดยวิธี AHP ใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเพื่อรวมดุลยพินิจของผู้ประเมินเข้าเป็นดุลยพินิจของกลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความไวเพื่อตรวจสอบความทนทานของกระบวนการสำคัญ กรณีศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่เสนอ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทานได้ การวิจัยนี้ พบว่าผลการรวมดุลยพินิจของผู้ประเมินโดยวิธีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต อาจไม่สอดคล้องกับผลการสังเคราะห์ของดุลยพินิจของผู้ประเมินแต่ละรายโดยทั่วไป ดังนั้น งานวิจัยและการประยุกต์ใช้แบบจำลองนี้ในอนาคตจึงอาจจะใช้วิธีการรวมดุลยพินิจในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ แทนการใช้วิธีรวมดุลยพินิจโดยวิธีค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เช่น การอภิปรายเพื่อให้ได้เสียงเอกฉันท์ หรือการลงมติของกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างของดุลยพินิจ แบบจำลองที่เสนอจึงช่วยให้ผู้จัดการโซ่อุปทานสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ มาตรวัด และกระบวนการหลัก เพื่อให้ความสำคัญกับกระบวนการหลักและมาตรวัดที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์โดยรวมของโซ่อุปทาน

คำสำคัญ : การจัดการโซ่อุปทาน, การจัดลำดับความสำคัญ, กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP), แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินการโซ่อุปทาน (SCOR)

 

Abstract

The research is aimed at developing a model that can assist managers in determining the relative importance of the supply chain metrics and core processes. This research integrates the Supply Chain Operations Reference (SCOR) model level 1 with the Analytic Hierarchy Process (AHP) to prioritize supply chain metrics and core processes. One case study is presented to demonstrate the applicability of the proposed model. Relevant data were collected and processes by the AHP. The geometric means is used to aggregate individual judgments to obtain a group judgment. Sensitivity analysis is performed to test the robustness of the key processes. The case study demonstrates that the proposed model can be applied to prioritize supply chain measures and core processes of the supply chain of the case study. This research found that the results of geometric mean of individual judgments may not be consistent with the synthesis results of individual judgments at large. Therefore, future research and applications of the proposed model may employ behavioral aggregation, as opposed to geometric mean aggregation, such as consensus or vote to resolve differences. The proposed model enables managers to make connection among strategy, metrics and core processes and to concentrate on key processes and metrics that have a significant impact on the overall strategy of a supply chain.

Keywords : Supply Chain Management, Prioritization, Analytic Hierarchy Process (AHP), Supply ChainOperations Reference (SCOR) Model

Downloads

Published

2012-11-14

How to Cite

ธีรานุพัฒนา อ., & เที้ยศิริเพชร ช. (2012). การจัดลำดับความสำคัญของมาตรวัดและกระบวนการหลักของโซ่อุปทาน โดยวิธีแบบจำลองกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น. Creative Business and Sustainability Journal, 33(1), 1–32. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3883