ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม ที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

Authors

  • กฤตกร กัลยารัตน์ นักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

สถานการณ์การแข่งขัน, การจัดการความรู้, บรรยากาศการเรียนรู้, ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการ, เปลี่ยนแปลง, นวัตกรรม, ผลการดำเนินงาน, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มของสาขาธนาคารที่มีผลการดำเนินงานสูง-ต่ำ ในบริบทการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลการดำเนินงานของธนาคารสาขาที่มีระดับผลประกอบการสูง-ต่ำ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้และรูปแบบของบรรยากาศการเรียนรู้ของกลุ่มธนาคารสาขาที่มีผลประกอบการสูง-ต่ำ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทยจำนวน 938 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551) การศึกษาประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบบสอบถามจำนวน 430 สาขาที่ได้รับคืนมา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 221 สาขาและกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 209 สาขา การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดการและการสังเกตการณ์ทำงานในสาขาธนาคารไทยพาณิชย์จำนวน 20 สาขา โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 8 สาขา และกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 12 สาขา ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS version 16.0 ร่วมกับโปรแกรม AMOS 7.0 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง (n = 221) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 142.39, df = 119, / df = 1.197 , ns., GFI = .942) และพบว่า สถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ ( = .79, p < .001) และบรรยากาศการเรียนรู้ ( = .93, p < .001) และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีการจัดการความรู้ และบรรยากาศการเรียนรู้ เป็นตัวแปรคั่นกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดการความรู้ยังมีอิทธิพลโดยตรงเชิงลบต่อผลการดำเนินงาน ( = -.89, p < 0.01) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรม และความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแปรคั่นกลาง ส่วนบรรยากาศการเรียนรู้ พบว่า มีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน ( = .36, p < .05) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรมเป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 92.9 อนึ่ง การที่การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของสาขาที่มีผลประกอบการสูง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมชี้ว่า การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อตัวแปรระดับความพึงพอใจของพนักงานตัวแปรเดียวเท่านั้น นั่นคือ หากมีการจัดการความรู้ที่เน้นเพียงกระบวนการมากกว่าการสร้างการตระหนักถึงคุณค่าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของพนักงานลดลง ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ (n = 209) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 113.772, df = 94, / df = 1.210 , ns., GFI = .950, CFI = .994) และพบว่า สถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ ( = .87, p < .001) และบรรยากาศการเรียนรู้ ( = .97, p < .001) ส่วนการจัดการความรู้ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านบรรยากาศการเรียนรู้พบว่า ไม่มีอิทธิพลใดต่อผลการดำเนินงาน ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเนินงานได้ ร้อยละ 91.8 ในส่วนท้ายของบทความได้จัดทำข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้ผลการศึกษาแก่ธนาคารไทยพาณิชย์และหน่วยงานต่างๆไว้ด้วย

คำสำคัญ : สถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการ เปลี่ยนแปลง นวัตกรรม ผลการดำเนินงาน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

Abstract

The objectives of this research are 1) to investigate factors that have influence to group of different performance branches of Siam Commercial Bank PLC. (SCB) in learning organization context; 2) to develop a causal model for SCB branches having different performance under learning organization context; and 3) to study patterns of knowledge management and learning climate for SCB branches of different performance group. Population of the study covers all 938 branches of SCB in Thailand (as of 31 December 2008). The study utilizes both qualitative and quantitative methodologies. For quantitative research, questionnaire is the study tool. Four hundred and thirty responding branches can be classified into high performance group of 221 branches and low performance group of 209 branches. For qualitative research, in-depth interview of managers and observation on operations are carried out for selected 20 branches comprising 8 – high performance and 12 – low performance. SPSS version 16.0 and AMOS version 7.0 is used for analyzing confirmatory factor analysis and causal relationships of structural equation. For the high performance branches (n=221), it is found that its causal structural model complies with empirical data ( = 142.39, df = 119, / df = 1.197, ns, GFI = .942, CFI = .994). Competition rivalry has direct influence to knowledge management ( = .79, p < .001) and learning climate ( = .93, p < .001); and indirect influence to performance through mediation of knowledge management and learning climate. Knowledge management is found having negative direct influence to performance ( = -.89, p < 0.01) and indirect influence to performance through mediation of innovation and readiness to change. Learning climate has direct influence to performance ( = .36, p < .05) and indirect influence to performance through mediation of innovation. It is concluded that the model can explain 92.9% of the performance variation. In addition, further investigation shows that the negative influence of knowledge management to the performance causes effect only to employee satisfaction variable. Therefore, knowledge management that focuses rather on process than realization of its value would cause the reduction of employee satisfaction. For the low performance branches (n=209), it is found that its causal structural model complies with empirical data ( = 113.772, df = 94, / df = 1.210, ns, GFI = .950, CFI = .994). Competition rivalry has direct influence to knowledge management ( = .87, p < .001) and learning climate ( = .97, p < .001). Knowledge management has no influence directly to performance, but indirectly through mediation of readiness to change; also learning climate has no influence directly to performance. It is concluded that the model can explain 91.8% of the performance variation. The article ends with implications and recommendations of this study which are applicable to Siam Commercial Banks and other organizations.

Key words : Competition Rivalry, Knowledge Management, Learning Climate, Readiness to Change, Innovation, Performance, Siam Commercial Bank (SCB)

Downloads

Published

2012-11-14

How to Cite

กัลยารัตน์ ก. (2012). ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรม ที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). Creative Business and Sustainability Journal, 32(4), 1–24. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3888