ผลกระทบของความสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอแบบสอบถามกับการใช้กราฟฟิกต่อทัศนคติและระยะเวลาที่ใช้ตอบแบบสอบถามออนไลน์

Authors

  • ชัชพงศ์ ตั้งมณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กิตติพงษ์ แซ่ลิ้ม มหาบัณฑิตแห่งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ

คุณภาพของแบบสอบถามออนไลน์ มักขึ้นกับ (1) ทัศนคติของหน่วยตัวอย่างต่อแบบสอบถาม หรือ (2) ระยะเวลาที่ใช้ตอบแบบสอบถาม วรรณกรรมในอดีตทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้แนะนำว่า แบบสอบถามออนไลน์ควรอนุญาตให้หน่วยตัวอย่างสามารถปรับรายละเอียดของการนำเสนอได้ตามชอบหรือกระทั่งอนุญาตให้นักวิจัยเพิ่มกราฟฟิกเพื่อสื่อความหมายของข้อถามให้ชัดเจนขึ้น การใช้ความสามารถเหล่านี้มีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามออนไลน์ แต่ทั้งนี้ยังไม่พบงานเชิงประจักษ์ที่ช่วยยืนยันคำแนะนำข้างต้น การศึกษานี้จึงต้องการวิเคราะห์ผลกระทบของความสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอและการใช้กราฟฟิกในแบบสอบถามออนไลน์ต่อ (1) ทัศนคติต่อแบบสอบถาม และ (2) ระยะเวลาที่ใช้ตอบแบบสอบถาม ในที่นี้การนำเสนอที่สามารถปรับเปลี่ยนได้คือ การที่หน่วยตัวอย่างสามารถปรับเปลี่ยนขนาดอักษรหรือสีพื้นหลังของแบบสอบถามออนไลน์ได้
ผลการศึกษานี้ที่มาจากการทดลองในสภาพจริงอันเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบ (1) ความสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอแบบสอบถาม มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อระยะเวลาตอบแบบสอบถาม และ (2) การใช้กราฟิก มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อทัศนคติต่อแบบสอบถามออนไลน์ โดยผลกระทบในอีกสองลักษณะไม่มีนัยสำคัญ ทว่า (3) ปฏิสัมพันธ์ของความสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอแบบสอบถามกับการใช้กราฟิก ต่อทั้งสองตัวแปรไม่มีนัยสำคัญ
นอกจากช่วยต่อยอดองค์ความรู้ของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิธีวิทยาการวิจัยในบริบทแบบสอบถามออนไลน์แล้ว ข้อค้นพบยังช่วยให้นักสถิติวิจัยและผู้ให้บริการเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถปรับปรุงคุณลักษณะของแบบสอบถามออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสการได้ข้อมูลการวิจัยที่มีคุณภาพมากขึ้น

 

Abstract

Quality of online questionnaires mostly depends on (1) a sample’s attitude toward the questionnaires or (2) an amount of time to complete it. Previous literature in information technology suggests that researchers may want to apply the concept of customization to their questionnaire design or add graphics to, perhaps, convey understandable questionnaire items. These suggestions aims primarily at enhancing quality of data collected through online questionnaires. However, empirical work to verify the suggestion is rare. This study would thus investigate impacts of customization and use of graphics on samples’ attitude toward the questionnaires and their completing time. In this study, samples were able to customize questionnaire’s font sizes and background colors
Results of a field experiment as part of an actual survey on Thai’s Internet consumption revealed (1) a statistically significant impact of the customizing technique on the completing time, (2) a statistically significant impact of the use of graphics on the attitude toward the questionnaire; however, the other two impacts were not statistically significant, and (3) the interaction effects of the customization and the use of graphics on samples’attitude toward online questionnaires and their completing time were not significant.
In addition to extending insight into information technology applications to research methodology, the findings may help researchers or online survey service providers to enhance their questionnaire features that could lead to data of better quality.


Downloads

Published

2012-11-14

How to Cite

ตั้งมณี ช., & แซ่ลิ้ม ก. (2012). ผลกระทบของความสามารถปรับเปลี่ยนการนำเสนอแบบสอบถามกับการใช้กราฟฟิกต่อทัศนคติและระยะเวลาที่ใช้ตอบแบบสอบถามออนไลน์. Creative Business and Sustainability Journal, 33(1), 59–79. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3889