ความคาดหวังในคุณภาพการบริการของร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น

Authors

  • สริยา พนานุสรณ์ นิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐพล อัสสะรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ

โครงงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความคาดหวังของชาวญี่ปุ่น และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความคาดหวังของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อคุณภาพบริการของร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเขตคันโต 170 คนและเขตคันไซ 170 คนที่มีอายุมากกว่า 20 ปี และเป็นผู้ที่เคยรับประทานอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังในแต่ละปัจจัยการให้บริการแตกต่างกัน โดยให้ระดับคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังคุณภาพบริการในด้านความเชื่อถือไว้วางใจ (Reliability) มากที่สุด รองลงมาคือการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า (Assurance) ความเป็นรูปธรรมของบริการ (Tangibility) และการรู้จักและเข้าใจลูกค้า (Empathy) ตามลำดับ ในส่วนของการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ และประสบการณ์ตรงที่มีต่อประเทศไทยกับระดับความคาดหวังคุณภาพบริการของร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นพบว่ามีเพียงรายได้และวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาประเทศไทยเท่านั้นที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคาดหวังคุณภาพการบริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

 

Abstract


Downloads

How to Cite

พนานุสรณ์ ส., & อัสสะรัตน์ ณ. (2012). ความคาดหวังในคุณภาพการบริการของร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น. Creative Business and Sustainability Journal, 33(1), 97–118. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3893