พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของผู้ออม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Keywords:
การออม, พฤติกรรมการออม, รูปแบบการออม, การตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมAbstract
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นโครงการหนึ่งใน โครงการวิจัยเรื่องความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเงินผ่านตลาดทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการวิจัยนี้ดำเนินการเก็บข้อมูลปฐมภูมิในมิติต่างๆโดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์ในการออม รูปแบบการออม และปัจจัยที่มีผลต่อการออม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของการออมผ่านตลาดทุน ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะนำไปหาข้อสรุปในเรื่องการพัฒนาการลงทุนในตราสารการเงินในตลาดทุน และสามารถนำไปใช้พิจารณากำหนดและปรับปรุงนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆในอันที่จะส่งเสริมการออมโดยเพิ่มปริมาณการลงทุนผ่านตลาดทุนในประเทศต่อไป
ผลจากการวิจัยพบว่าจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉลี่ยมีการศึกษาดี มีรายได้ปานกลางไปถึงค่อนข้างสูง และมีอัตราการออมเฉลี่ย ร้อยละ 32 ของรายได้ประจำ โดยที่วัตถุประสงค์หลักของการออมคือเพื่อไว้ใช้จ่ายหลังการเกษียณอายุ รูปแบบการออมที่เลือกคือการฝากเงินกับธนาคาร ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และซื้ออสังหาริมทรัพย์ มากกว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินในตลาดทุน ผลการวิจัยพบว่าผู้ออมทราบดีว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินจะได้รับผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูง และมีความซับซ้อนเข้าใจยากจึงไม่สนใจที่จะลงทุน นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ออมให้ความสำคัญต่อการจัดสรรเงินออมไปลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์มากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่าการลงทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารการเงิน รวมทั้งความจำเป็นในเรื่องที่อยู่อาศัย
คำสำคัญ : การออม พฤติกรรมการออม รูปแบบการออม การตัดสินใจเลือกรูปแบบการออม
Abstract
This study on household saving behavior and determinants of the forms of saving and investment in Bangkok metropolitan and its perimeter is under the umbrella of the research project on household saving behavior and capital market development in Thailand, sponsored by the Office of the Higher Education Commission.
The primary data was collected from the population of 400 who live in Bangkok and its perimeter through direct interviews and questionnaires. Purposive or judgment sampling is used according to age (20 years old and over) and level of income (20,000 baht and more).
The purpose of this study is to identify household saving behavior and determinants of forms of saving and investment in the hope that they could lead to the development of financial instruments as alternative means of investment, especially in the capital market. Moreover, the result of the study might be of some value to the authorities involved in determining policies and measures to encourage more savings through investment in the domestic capital market.
We found that most of savers in Bangkok and its perimeter were well-educated, having medium to high level of income and had average saving rate of 32% of their income. Their main purpose of savings was for post-retirement spending. As for the forms of savings and investment, they tended to invest in bank deposits, insurance policies and real estate more than in financial assets in the capital market.
The study also found that savers realized the fact of high-risk-high-return nature of investing in financial assets, but it was not widely interesting to savers owing to the complicated process involved. However, the highest proportion of savings was allocated to the investment in real estate since a house was one of the basic needs and also savers perceived that physical assets were less risky than financial assets.
Keyword : Saving, Saving Behaviour, Saving Instruments, Saving Decision
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.