การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด

Authors

  • อัญญา เปี่ยมประถม นักศึกษาปริญญาโท คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ข้อมูลป้อนกลับ, ผลการปฏิบัติงาน, พฤติกรรมการจัดการข้อมูลป้อนกลับ, ทัศนคติต่อการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ, รูปแบบภาวะผู้นำ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีระหว่างหัวหน้างานและพนักงาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติแก่หัวหน้างานและพนักงานในการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้างานและพนักงานของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ทั้งหมดจำนวน 370 คน แบ่งเป็น หัวหน้างาน 38 คน และพนักงาน 332 คน ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้างานและพนักงานได้ให้และรับข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหัวหน้างานและพนักงานมีทัศนคติทางบวกต่อการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้แก่ พฤติกรรมการหลีกเลี่ยงข้อมูลป้อนกลับ ประสิทธิภาพข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างาน ทัศนคติต่อการให้ข้อมูลป้อนกลับของหัวหน้างาน รูปแบบภาวะผู้นำแบบชี้นำ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของพนักงาน ส่วนแนวทางที่ควรปฏิบัติ คือ หัวหน้างานจะต้องมีความจริงใจ มุ่งมั่น และเอาใจใส่ในกระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับ มีเตรียมข้อมูล ข้อมูลป้อนกลับต้องถูกต้อง เป็นความจริง มีเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติได้ พนักงานจะต้องเปิดใจ ไม่ป้องกันตนเอง เห็นความสำคัญของข้อมูลป้อนกลับ และนำข้อมูลป้อนกลับไปปฏิบัติ ส่วนข้อมูลป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพต้องมีความเฉพาะเจาะจง มีตัวอย่างประกอบชัดเจน เน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและเป็นสิ่งที่พนักงานสามารถปฏิบัติตามได้ และส่วนองค์การควรจัดให้มีการให้ข้อมูลป้อนกลับในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และฝึกอบรมหัวหน้างานและพนักงานเรื่องการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ

คำสำคัญ : ข้อมูลป้อนกลับ ผลการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการจัดการข้อมูลป้อนกลับทัศนคติต่อการให้และรับข้อมูลป้อนกลับ รูปแบบภาวะผู้นำ

Abstract

This research aims to study feedback between supervisors and employees during the annual performance evaluation process. To study factors related to feedback that affect the performance of employees. And to offer supervisors and employees guidance for giving and receiving feedback. The data were collected by questionnaire from supervisors and employees of Thai Siam Cement (Kaeng Khoi) Co., Ltd. A total of 370 participants can be divided into 38 supervisors and 332 employees. The results indicate that supervisors and employees gave and received feedback during the evaluation performance. Both supervisors and employees have a positive attitudes towards giving and receiving feedbacks. Factors related to the feedback that impact on the performance of the employees are feedback avoiding behavior, supervisors’ effective feedback, supervisors’ attitude toward feedback, directive leadership and position time of subordinate. The guidelines for giving and receiving feedback: supervisors must be sincere, committed and focus on the process; prepare the information. The feedbacks must be true and able to be reasonably implemented. The employee must be open to feedback, not be too defensive. They must see the value of the feedback and implement them afterwards. The effective feedback must be specific, explained by using clear examples, pertinent to the work and reasonably implementable. The organization should arrange a feedback process during the employee’ performance evaluation at least twice year and arrange supervisor and employee in giving and receiving feedback.

Keywords : Feedback, Performance, Feedback Management Behavior, Attitude to Giving and Receiving Feedback, Leadership Style,

Downloads

Published

2012-11-14

How to Cite

เปี่ยมประถม อ. (2012). การให้และรับข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. Creative Business and Sustainability Journal, 32(4), 127–159. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3899