ปัจจัยของหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี

Authors

  • อาธิ ครูศากยวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยของหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานีมีวัตถุประสงค์ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ศึกษาระดับความร่วมมือของหุ้นส่วนเศรษฐกิจในการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี ศึกษาปัจจัยของหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งได้จากการสร้างแบบสอบถาม และการสร้างแบบสัมภาษณ์ จากหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม นั่นคือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคธุรกิจ และกลุ่มภาคประชาชน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง และเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากแบบสัมภาษณ์จำนวน 60 ตัวอย่างด้วยวิธีพบปะบังเอิญและเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้ทำการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่า ไคสแควร์ ซึ่งผลวิจัยมีดังนี้
1. คุณลักษณะทั่วไปของหุ้นส่วนเศรษฐกิจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา นับถือศาสนาพุทธ เป็นโสด มีขนาดครัวเรือน 3-4 คน ประกอบอาชีพอยู่ในภาคประชาชน รองลงมาเป็นภาคธุรกิจและภาครัฐ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีขึ้นไป และส่วนใหญ่มิได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือชมรมในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยแต่ประการใด
2. ระดับความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจของหุ้นส่วนเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี ใน 12 ด้าน พบว่าหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคธุรกิจและกลุ่มภาคประชาชนมีส่วนช่วยหรือร่วมมือกันช่วยพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.85 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.03 ทั้งนี้หุ้นส่วนเศรษฐกิจทำการพัฒนาเศรษฐกิจด้านคุณภาพชีวิตมากที่สุด รองลงมาทำการพัฒนาเศรษฐกิจด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ด้านประชากรและแรงงานโดยหุ้นส่วนเศรษฐกิจทำการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและบริการในลำดับท้ายสุด
3. ปัจจัยคุณลักษณะทั่วไปของหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ผลการทดสอบ สมมุติฐาน พบว่า อายุ และระดับการศึกษาของหุ้นส่วนเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนขนาดครัวเรือน ลักษณะการประกอบอาชีพ และระยะเวลาการอยู่อาศัยของหุ้นส่วนเศรษฐกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัดดังกล่าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ข้อค้นพบของการวิจัยครั้งนี้คือหุ้นส่วนเศรษฐกิจมิได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการบริการอย่างที่ควรจะเป็นแต่กลับได้รับการพัฒนาในอันดับท้ายสุดทั้งๆ ที่ประเทศไทย และภาคใต้ของไทยปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการค้า การลงทุนการท่องเที่ยวและการบริการในอันดับต้นๆ ของการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงการขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจังของหุ้นส่วนเศรษฐกิจบริเวณกลุ่มจังหวัดดังกล่าว

 

Abstract

The research on factors of economic partners having relation with economic development in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province, had the purpose to study the general features of economic partners, to study the cooperation level of economic partners in the economic development in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province; to study about the factors of economic partners related with the economic development in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province; this research is the quantitative research mixed with qualitative research, obtained from making of questionnaires and making of interview forms from economic partners, consisting of three groups, i.e., public sector group, business sector group and people sector group. The data was collected from 400 samples of questionnaires and collected from 60 samples of interview forms by using the method of meeting by chance and specific meeting; the statistics used were percentage, mean and standard deviation. The relationship test is made by using Chit-square; the research result was as follows :
1. The general features of the economic partners; it was found that most of the sample groups used as representatives in this research were women, aged 21-30 years, graduated in level of Associate Degree, Buddhism religion, single status, size of household containing 3-4 people, operating the occupation in people sector. The secondary level was in business sector and public sector; they were living in the area for not less than 5 years or more; and most of them did not participate as members or clubs in the area that they lived.
2. The level of cooperation in economic development of economic partners in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province, in 12 aspects, it was found that the economic partners consisting of public sector group, business sector group and people sector group helped or cooperated in helping the economic development of the area in the moderate level. The mean was 2.85 and the standard deviation value was 1.03. The economic partners developed the economy in life quality the most of all. The secondary level was the economic development in basic economic structure, regulations, population and labor. The economic partners developed the economy in the trading, investment, tourism and service in the final level.
3. Factors of general features of economic partners having relations with the economic development in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province; the test result of the assumption found that the age and education level of the economic partners had relations with economic development. The size of household, occupation features and living period of economic partners had no relations with the economic development in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province; with statistical significance at the level of 0.05.
4. The finding of this research was that the economic partners did not have significance with the economic development in the trading, investment, tourism and service as it should be, but the development was obtained in the final level, even if Thailand and Southern Region of Thailand at present are very necessary to use the economic driving force in trade, investment, tourism and service in the first levels of development; it showed the serious cooperation of economic partners in the area group of Chumphon Province, Ranong Province and Surat Thani Province.

Downloads

Published

2012-11-15

How to Cite

ครูศากยวงศ์ อ. (2012). ปัจจัยของหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจ บริเวณกลุ่มจังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี. Creative Business and Sustainability Journal, 30(1-2), 41–53. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3917