บรรษัทภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษาของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

Authors

  • อารีรัตน์ สุวรรณชัยจินดา นิสิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พัชสิรี ชมภูคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลด้าน การจัดการทรัพยากรบุคคลของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการสนทนากลุ่มของพนักงาน และสัมภาษณ์เชิงลึกในระดับผู้บริหาร ผลการศึกษา พบว่า บวท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบรรษัทภิบาลโดยภาพรวมในระดับ ที่ยอมรับได้ โดยมีบรรษัทภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดีมาก มีหลักเกณฑ์ คู่มือ การมอบหมายงานที่ชัดเจน แต่มีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับผู้ใช้ระบบทั้งในส่วนของพนักงานและฝ่ายบริหารที่มีความเข้าใจและมีการใช้ระบบที่ยืดหยุ่นแตกต่างกัน ส่งผลให้ระดับของบรรษัทภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลยังไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาในส่วนของการบูรณาการเครื่องมือและระบบต่างๆ ให้สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรมอย่างจริงจัง อีกทั้งการนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการจัดการงานให้มากขึ้น โดยแนวทางในการนำไปใช้และข้อจำกัดการศึกษาถูกระบุไว้ในการศึกษานี้

Abstract

The objective of this study is to explore good corporate governance for human resource management of Aeronautical Ratio of Thailand Ltd. The study employed qualitative method that is collecting data from focus group discussion and in-depth interview. The result of the study revealed that Aeronautical Ratio of Thailand Ltd. has overall good corporate governance at an acceptable level; specifically, overall corporate governance for human resource management was good. Aeronautical Ratio of Thailand Ltd. was found to have an excellence human resource management system in standard procedure and practice, human resource management manual, clear and precise work role of the employees. However, there are difficulties in employees’ understanding and usage of the procedures, as well as, the level of flexibility of management varied. For the reasons mentioned, it was unlikely to completely achieve human resource governance in the very near future. The researcher has recommended the causes of action to be taken in order to perfectly attain goals by integrating the management system and tools, communication, internal marketing, information technology and enhancement of employees’ ethic and morale. Implication and limitation are included.

Downloads

Published

2012-11-15

How to Cite

สุวรรณชัยจินดา อ., & ชมภูคำ พ. (2012). บรรษัทภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล : กรณีศึกษาของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. Creative Business and Sustainability Journal, 30(3-4), 42–57. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3932