การรับรู้และการยอมรับของผู้บริโภคในการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ มาใช้ในการจำหน่ายสินค้าประเภทเนื้อสัตว์

Authors

  • ธีรธรรม เปี่ยมคุณธรรม นิสิตในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กุณฑลี รื่นรมย์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ที่ปรึกษาโครงการพิเศษ)

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้ การยอมรับของผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Tracebility System) สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ในประเทศไทย โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 500 คนในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนกลับมีความสัมพันธ์กับระดับความถี่ในการซื้อเนื้อสัตว์จากซุปเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าระบบการตรวจสอบย้อนกลับช่วยให้สามารถเลือกซื้อเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีความเห็นว่าควรซื้อเนื้อสัตว์ที่มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับมากกว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่มีระบบการตรวจสอบ ผลจากการวิจัยช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถตัดสินใจนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป


Abstract

The objectives of this research are to study consumer perception, acceptance and factors affecting the traceability system for meat products in Thailand. The samples are collected from 500 meat consumers in Bangkok. The results found that the consumer perception of traceability system was related to the frequency of buying meat products from supermarkets. Furthermore, consumers think that traceability system can help them to make buying decision of meat safer and consumers should buy meats that have traceability system rather than without the system. Results from this research can help entrepreneurs to make decision on implementing traceability system for increasing quality and safety in meat product consumption in Thailand.

Downloads

How to Cite

เปี่ยมคุณธรรม ธ., & รื่นรมย์ ก. (2015). การรับรู้และการยอมรับของผู้บริโภคในการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ มาใช้ในการจำหน่ายสินค้าประเภทเนื้อสัตว์. Creative Business and Sustainability Journal, 32(1), 73–107. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3941