Tourism Behaviour and Significant Factors towards Consuming Decision in Thai Provinces along Greater Mae Khong Subregion

Authors

  • Wongwattana Sriprasert Associate Professor in Business Management, Faculty of Management Science, Rajabhat Maha Sarakham University

Keywords:

Tourism Behaviour and Significant Factors towards Consuming Decision, Six Thai Provinces along Greater Meakhong Subregion

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงบริบทการท่องเที่ยวในเขตลุ่มแม่น้ำโขงในพื้นที่ 6 จังหวัดได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวและความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจำนวน 12 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ 6 จังหวัดจำนวน 388 คน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 400 คน ได้มาโดยใช้สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม 2 ชุด ซึ่งแต่ละชุดใช้สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ .096 จากการคำนวณโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาตามแบบของครอนบาค ข้อมูลเชิงคุณภาพนั้นได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัยข้อที่ 1 โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณได้ถูกนำมาวิเคราะห์สำหรับวัตถุประสงค์ 2 ข้อที่เหลือ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน (t-test Independent Samples) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One-way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe)
1. ผลการวิจัยข้อมูลเชิงบริบทการท่องเที่ยว พบว่า รัฐบาลควรเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนโดยควรมีการกำหนดชัดเจนและมีมาตรการต่างๆ ทั้งในด้านการส่งเสริม ด้วยการให้สิทธิพิเศษในการลงทุน ด้านกฎหมาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ตลอดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม โบราณสถาน และโบราณวัตถุ รวมถึงให้การศึกษาที่สอดคล้องอย่างบูรณาการกับประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลควรจัดเจ้าหน้าที่ประจำ
2. ผลการวิจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง พบว่านักท่องเที่ยวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และส่วนมากมีรายได้ 15,001 บาท ขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้ามาท่องเที่ยวโดยเฉพาะ สำหรับสิ่งที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการในแถบภูมิภาคนี้ เพราะได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจากวิทยุ/โทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งส่วนมากเดินทางมาท่องเที่ยวกับครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว และใช้บริการเกสต์เฮาส์เป็นที่พักอาศัย ตลอดจนมีความสนใจประเภทธรรมชาติ ส่วนเรื่องพฤติกรรมการท่องเที่ยวนั้น โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความประทับใจที่ได้มาท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของการให้บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความพึงพอใจในการให้บริการของสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านผลประโยชน์และผลกระทบที่ได้รับจากการท่องเที่ยว มีความประทับใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว มีความประทับใจที่ได้มาท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง 6 จังหวัด ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียบลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด ตลอดจนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น
3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว พบว่า ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงโดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักท่องเที่ยวที่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และศาสนา ต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างของนักท่องเที่ยวไทย ที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สำหรับผลการเปรียบเทียบประชาชนที่อยู่ในพื้นที่พบว่า มีผลทางสถิติเช่นเดียวกันเมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างเพศในทุกรายด้านและโดยรวม และระดับอายุเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวโดยรวม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อพิจารณาสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การนับถือศาสนา อาชีพ และรายได้

คำสำคัญ : พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว, ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว, อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขว

 

Abstract

The objectives of this research comprised : 1) to explore phenomenal data of tourism among Thai provinces bordering to Khong river 2) to study the tourism behaviour of those consumers and important opinions towards affected factors in consuming decision making of local people in the area and 3) to compare tourism behaviour of those consumers and important factors towards tourism consuming decision of local people according to insiding difference of some characteristics. The sampling size allocation was gained by using Taro Yamane formular from each of 2 groups of population from 388 Thai tourists and 400 of local people in those provinces.Stratified simple random sampling technique was implemented up to each of 6 target provinces.Interviewing and 2 sets of 5 rating scale questionnaire excreting 5 aspects of tourism behaviour for consumers and 6 aspects important factors for each respectively group as the research instruments,were contructed passing through 5 experts and trying out for reliability and reached 0.96 by using Cronbach’s alpha coefficient.Qualitative data was analyzed for the first objective and quantitative one was done for the others two.Content analysis and statistical one via using computer program were investigated for field qualitative collected data and conducted questionaire.Descriptive statistics,t- test and One-way ANOVA (F-test and Scheffe) were applied for quantitative data analysis. The results revealed that ;
1.The government should take role in promotion with clear identification and standard protocal by providing privilege in investment, law, public relations, along with the preservation of nature, art, tradition, culture, historical sites and antiques including relevant education integrated with local people involvement to make tourism sustain. The government should set up a permanent officers.
2. Majority of tourists were male, tradesman or personal business, monthly income over 15,001 baht and single purpose to travel. Most of them were stimulated to visit this region by PR information on tourism from radio and television.Most of them came with their families by personal cars and stayed over in guest’s houses. They were interested in nature and very impressed as a whole tourism behavior. After considering in each aspect, it was found that their impression was in the high level with the appropriateness of the facilities, the sufficient of services, the benefit and effects from tourism.However according to resources, it was intermediates.According to local people,they mostly revealed opinions of important factors related to the tourist consuming decision at high level in all aspects with respectively sequences from maximum to minimum as products and services, prices, channel of distribution, marketing promotion, administration resources management, and participation of the local people.
3. According to total tourism behaviour of the consumers ,there were no statistical significant difference in each category of age,career and income ,however,they showed contrast results considering inside each category of gender ,marital status,education level and their own religions,especially the same results revealed in every of each aspect of tourist behaviour for the difference of gender at .05 level. According to the local people towards important factors for tourism consuming decision , they showed no statistical significant difference in each category of marital status,education level,the religion of their own,career and income. Such results contrasted when considering to the difference of their gender and age at .05 level.

Key words : Tourism Behaviour and SignificantFactors towards Consuming Decision, Six ThaiProvinces along Greater Meakhong Subregion

Downloads

Published

2012-11-15

How to Cite

Sriprasert, W. (2012). Tourism Behaviour and Significant Factors towards Consuming Decision in Thai Provinces along Greater Mae Khong Subregion. Creative Business and Sustainability Journal, 31(1-2), 1–20. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3942