การประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชนกรณีศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

Authors

  • มงคล อุลมาร ศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
  • พันเอกศรัทธา คัยนันทน์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • พระมหาเกรียงศักดิ์ เจริญรัมย์ เจ้าหน้าที่กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์, การประเมินรูปแบบซิป (CIPP model), โครงการฝึกอาชีพ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้รายงานผลของการวิจัยเชิงลึกการประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพ โดยมีจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน ศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามหลักสูตรของกลุ่มวิชาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย วิชาตัดผมเสริมสวย วิชาช่างอิเล็คทรอนิกส์ วิชาศิลปประดิษฐ์ วิชาอาหารและโภชนาการและวิชาทั่วไป โดยใช้วิธีการสำรวจจากตัวอย่างผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ซึ่งเข้ารับการอบรมระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 จำนวน 399 คน เลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งผู้เข้ารับการฝึกอาชีพตามกลุ่มวิชา และกำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน(Proportionate stratified random sampling) จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มจะกำหนดให้เป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอาชีพในกลุ่มนั้น ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย สถิติเชิงอนุมานคือ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบไคสแควร์และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการศึกษา สรุปได้ว่าลักษณะส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษาและกลุ่มวิชาชีพที่เข้ารับการฝึกอาชีพ มีผลต่อการประเมินผลสัมฤทธิ์โดยรวม ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 โดยกลุ่มวิชาชีพที่เข้าอบรมมีลำดับความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์โดยรวมเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ระดับการศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การณ์จร เท่ากับ 0.239 และ 0.210 ตามลำดับ แต่เมื่อกำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 จะพบว่ามีเพียงกลุ่มวิชาชีพที่เข้ารับการฝึกอาชีพเท่านั้นที่มีผลต่อการประเมินผลสัมฤทธิ์โดยรวม เมื่อพิจารณาปัจจัยด้านต่าง ๆ โดยใช้การประเมินรูปแบบซิป (CIPP model) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตพบว่าด้านผลผลิตผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีค่าเฉลี่ยระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพในกลุ่มวิชาชีพที่ต่างกันจะแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ยระดับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในกลุ่มวิชาชีพที่ต่างกันไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน เมื่อพิจารณาจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของปัจจัยต่างๆ เมื่อกำหนดค่าน้ำหนักหรือความสำคัญของแต่ละปัจจัย/เรื่องโดยยึดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเป็นหลัก สรุปได้ว่าโครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชน วัดวรจรรยาวาส มีผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์เท่ากับ 3.73 จากค่าสูงสุด 5 หรือคิดเป็นค่าผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 74.62

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์; การประเมินรูปแบบซิป (CIPP model); โครงการฝึกอาชีพ

 

Abstract

This paper evaluates the effectiveness of apprentice programs for Thai residents. We focus on the following apprentice programs: (1) Dress Making and Designs, (2) Hairdressing and Beauty Salon, (3) Electronics, (4) Arts, (5) Food and Nutrition, and (6) General Subject. We surveyed 399 students who attended weekday occupational training programs between October 2008 and March 2009 at Wat Worajunyawad Apprentice Center, Bang Kor Laem District, Bangkok using a stratified random sampling technique. This method selects number of students from each program in proportion to total number of students in the respective program. Our research tools are survey of effectiveness, descriptive statistical analysis, i.e., percentage and average values, and statistical inference, i.e., hypothesis testing by means of a Chi-square test, and analysis of variance.

We find that the students’ characteristics; namely, their level of education and choice of subject studied are not independent of the effectiveness of the occupational training programs at the 10% level of significance. Choice of subject studied is the most important contributor with the contingency coefficient of 0.239 while level of education is the second important contributor, having the contingency coefficient of 0.21. At the 5% level of significance, the subject studied is the only important contributor to the overall effectiveness of these occupational training programs. Applying a CIPP model, we considered four factors; namely, environment, quality of inputs, process, and outcomes, we find that the average effectiveness score for outcomes significantly varies across programs while the average effectiveness scores on the remaining three factors do not differ across programs at the 5% level of significance. The overall effectiveness of the program based on the relative weight for each of the four factors that are set in accordance to the objectives and goals of the programs indicate that training at Wat Worajunyawad Apprentice Center is relatively effective; the average score for the overall effectiveness is 3.73 out of a maximum of 5, which is equivalent to the effective rate of 74.6 percent.

Keyword : Effectiveness, CIPP Model, Apprentice Programs

Downloads

How to Cite

อุลมาร ม., คัยนันทน์ พ., & เจริญรัมย์ พ. (2012). การประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฝึกอาชีพเพื่อประชาชนกรณีศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพวัดวรจรรยาวาส สำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร. Creative Business and Sustainability Journal, 31(4), 32–46. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3961