VALUE RELEVANCE OF SIMPLE ECONOMIC VALUE ADDED (EVA) IN MERGERS AND ACQUISITIONS

Authors

  • Kobporn Kulsurakit Master of Science in Finance, Department of Banking and Finance, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ในแง่มุมที่ว่าตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์มีความเกี่ยวเนื่องมากกว่าตัววัดทางบัญชีอื่นหรือไม่ในเหตุการณ์การควบรวมกิจการ การทดสอบข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (Relative information content test) ถูกกำหนดขึ้นเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์กับผลตอบแทนส่วนเกินราคาควบรวม ผลตอบแทนส่วนที่เกินปกติของผู้ควบรวมกิจการ และผลตอบแทนรวมระหว่างผลตอบแทนส่วนที่เกินปกติของผู้ควบรวมกิจการและผู้ถูกควบรวมกิจการ ว่ามีความสัมพันธ์มากกว่าตัววัดทางบัญชีอื่นหรือไม่ ผลของการทดสอบข้อมูลแบบสัมพัทธ์พบว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนส่วนเกินราคาควบรวมและผลตอบแทนรวมระหว่างส่วนที่เกินปกติของผู้ควบรวมกิจการและผู้ถูกควบรวมกิจการมากที่สุด แต่พบว่าตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์ กับผลตอบแทนส่วนที่เกินปกติของผู้ควบรวมกิจการมากที่สุด อย่างไรก็ตามความแตกต่างของระดับความสัมพันธ์ในการอธิบายผลตอบแทนต่างๆของตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์และตัววัดทางบัญชีอื่นไม่มีนัยสำคัญ จึงสามารถสรุปได้ว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอที่จะกล่าวอ้างถึงความสามารถของตัววัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ที่มีมากกว่าตัววัดทางบัญชีอื่นในกรณีการควบรวมกิจการ


Abstract

This study investigates the value-relevance of the EVA (Economic Value Added) compared with other accounting measures in mergers and acquisitions. Relative information content test is conducted to investigate whether EVA is more highly correlated with the takeover premium, acquirers’ abnormal returns and combined returns, than other traditional accounting measures (Cash Flow from Operation (CFO), Earning before Extraordinary Items (EBEI), Residual Income (RI)). Relative information content test shows that CFO is more highly correlated with the takeover premium and combined returns, while EVA can best describe the variation in acquirers’ abnormal returns. However, these differences in explanatory power are not significant. These results do not support the claim that EVA outperforms other accounting measures in mergers and acquisitions.

Downloads

Published

2012-11-15

How to Cite

Kulsurakit, K. (2012). VALUE RELEVANCE OF SIMPLE ECONOMIC VALUE ADDED (EVA) IN MERGERS AND ACQUISITIONS. Creative Business and Sustainability Journal, 31(1-2), 123–148. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3963