การวิเคราะห์ผลกระทบด้านโลจิสติกส์จากการย้ายที่ตั้งศูนย์กระจายเงินสด ในธุรกิจธนาคาร โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP)
Keywords:
กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น, โลจิสติกส์, การกระจายเงินสด, ธนาคารAbstract
บทคัดย่อ
การย้ายทำเลที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เป็นการตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ ที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในเชิงต้นทุน ระดับการให้บริการ และความสามารถในการเข้าถึงลูกค้า งานวิจัยนี้ศึกษาประเด็นผลกระทบด้านโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าหลักของบริษัทให้บริการขนส่งเงินสดและบรรจุเงินเข้าเครื่องเอทีเอ็มในธุรกิจธนาคาร วิธีวิจัยใช้การจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้อง และการให้ผู้ทรงคุณวุฒิทำการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยวิธีกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) เพื่อประเมินถึงความเร่งด่วนในการดำเนินการแก้ไขตามมุมมองของบริษัท โดยการวิเคราะห์ความสำคัญของประเด็นปัญหาจะวัดจากผลกระทบที่เกิดต่อ (1) ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์; (2) การตอบสนองความต้องการของลูกค้า; (3) ความน่าเชื่อถือของการให้บริการ และ (4) ความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่
จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ควรมีการดำเนินการเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน การวางเส้นทางเดินรถ การออกแบบโครงข่ายการขนส่ง และการบริหารสินค้าคงคลัง ผลการศึกษาถูกใช้เป็นแนวทางการเตรียมความพร้อมของบริษัทในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์หลังจากการย้ายที่ตั้งศูนย์ฯต่อไป
คำสำคัญ : กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น, โลจิสติกส์, การกระจายเงินสด, ธนาคาร
Abstract
Facility location decision is considered as a strategic decision, which has long-term impact on business competitiveness in terms of cost efficiency, service level and accessibility to marketplace. This research studies the impacts of relocating a company’s logistics facility. Specifically, a case study of a logistics service provider for a bank, whose services include cash pick-up and deliveries, and ATM refill, is raised. Some of the major logistics issues caused by the relocation of company’s distribution center are identified through process observation and in-depth interview. To evaluate and rank the importance of the logistics issues, Analytical Hierarchy Process (AHP), a well-known multi-criteria decision-making tool, is implemented with a group of company’s policy makers. Four criteria include (1) cost; (2) responsiveness; (3) reliability; and (4) utilization.
Results show that according to the company’s perspective, the development of logistics KPIs is given the highest priority, followed by improvement of internal process, vehicle routing, network design, and inventory management, respectively. The research findings are used in developing action plans for logistics upgrade after the facility relocation.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.