การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจนเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจและเปรียบเทียบการรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงานจากมุมมองของระหว่างเจนเนอเรชั่นต่างๆ ที่กำลังทำงานร่วมกันในองค์กรปัจจุบัน (Working Generations) ในช่วงแรกของงานวิจัยได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิค Repertory Grid เพื่อสอบทานคำศัพท์หรือวลีที่อธิบายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของเจนเนอเรชั่นวายจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปพัฒนาแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในช่วงต่อมา ทั้งนี้ได้รับผลตอบกลับจากกลุ่มตัวอย่างเจนเนอเรชั่นวาย 101 ตัวอย่างและเจนเนอเรชั่นเอ๊กซ์รวมกับเบบี้บูมเมอร์สอีก 102 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างแต่ละเจนเนอเรชั่นมีมุมมองต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของเจนเนอเรชั่นวายในหลายปัจจัยแตกต่างกัน ซึ่งสื่อให้เห็นถึงช่องว่างในการรับรู้ที่แตกต่างกัน ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานพบว่าเจนเนอเรชั่นวายเพศชายและเพศหญิงให้ความสำคัญกับแรงจูงใจโดยภาพรวมแล้วไม่แตกต่างกัน แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือเจนเนอเรชั่นวายเพศชายให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระในการทำงาน ทำเลที่ตั้งของสำนักงาน และความสวยงามหรือความทันสมัยของสถานที่ทำงานมากกว่าเพศหญิง นอกจากนี้ผลการวิจัยยืนยันถึงความต้องการแรงจูงใจในการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างเจนเนอเรชั่น ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อการเสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจในความเป็นเจนเนอเรชั่นวาย ตลอดจนความแตกต่างระหว่างเจนเนอเรชั่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับยุคสมัยต่อไป
Abstract
This study aimed to investigate and compare perceptions of Generation Y’s attributes and motivational preferences from the views of different working generations. Initially, research tool was developed from interviews using Repertory Grid technique to review key words or phases that described Generation Y’s attributes from the literatures. Then the refined words or phases were used to develop questionnaires. Data were collected from 101 Yers and 102 Xers and Baby Boomers. The results showed that Generation Y’s attributes were perceived quite differently among working generations. This indicated a perception gap in the workplace that needed to be managed with care. In general, there was no significant gender difference in Generation Y’s motivational preferences. However, this study found that Generation Y male significantly rated the motivational factors regarding freedom to perform, workplace location, as well as office aesthetics and modernity higher than Generation Y female. Also the results confirmed that different generations needed different types of work motivations. Implications of this study would help expand our world view of Generation Y and generational differences and reshape organizational human resource management for better place to work for all generations.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.