การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของแบบวัดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในองค์การทางธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การวิเคราะห์พหุระดับ
Keywords:
การตรวจสอบความตรง, การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์, การวิเคราะห์พหุระดับ, ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, Validation, Strategic Human Resource Management, Multilevel analysis, Information and Communication Technology BusinessAbstract
บทคัดย่อ
แม้ว่างานวิจัยที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิง กลยุทธ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงานเริ่มมีมากขึ้น แต่งานวิจัยที่ทำการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับโครงสร้างพหุระดับของการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ยังมีอยู่จำนวนน้อย การศึกษาหลายชิ้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในระดับบุคคลเพื่อวัดการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ขององค์การ แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของแบบวัดในด้านความตรงพหุระดับของโครงสร้างตัวแปรที่วัดอย่างสมบูรณ์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของแบบวัดการจัดทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานจำนวน 388 คน จาก 54 บริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับถูกนำมาใช้เพื่อประเมินโครงสร้างแฝงของการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ 5 ด้านประกอบด้วย การคัดเลือก การฝึกอบรม การให้อำนาจในงาน การประเมินผลงานตามเป้าหมาย และค่าตอบแทนตามผลงาน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับแสดงให้เห็นว่า แบบวัดการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์มีความตรงเชิงโครงสร้างพหุระดับ การวิเคราะห์อิทธิพลพหุระดับพบว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ด้านการให้อำนาจในงาน ด้านค่าตอบแทนตามผลงานและการประเมินผลงานตามเป้าหมายส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ตามลำดับ ผลการวิจัยถูกอภิปรายในบริบทของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์พร้อมทั้งข้อเสนอแนะการตรวจสอบความตรงของโครงสร้างสำหรับการศึกษาในอนาคต
คำสำคัญ: การตรวจสอบความตรง การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์พหุระดับ
ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย
Abstract
Although there are a growing number of studies on the relationship between strategic human resource management (SHRM) practices and employees performance, few studies have addressed multilevel structure of SHRM. Several studies gather individual-level data to measure organization-level SHRM, however, validation of multilevel construct have yet to be fully examined. The main aim of this study is to the development and validation of SHRM scale. A data collection involved 388 workers from fifty four companies that are member of the Association of Thai Information and Communication Technology Industry (ATCI). The multilevel confirmatory factor analysis (MCFA) was used to properly evaluate the factor structure underlying the SHRM questionnaire composed of five scales: selection, training, empowerment, goal-oriented performance appraisal, and performance-based compensation. The MCFA results demonstrated the multilevel construct validity of SHRM scale. Multilevel path analysis founded that three central dimensions of SHRM affect employees’ performance. The results are discussed in the context of the theoretical framework of the SHRM, with suggestions for future validation work.
Keywords: Validation, Strategic Human Resource Management, Multilevel analysis,
Information and Communication Technology Business
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.