การศึกษาปัจจัยการรับรู้ต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยและกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรปและละตินอเมริกา
Keywords:
ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ, โครงการศึกษาสังคมความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก, ประเทศไทย, Entrepreneurial Intention, Global Entrepreneurship Monitor (GEM), ThailandAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการโดยอาศัยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกกับกลุ่มตัวอย่างประชากรไทยที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมผู้ประกอบการและประเทศสมาชิกโครงการศึกษาสังคมความเป็นผู้ประกอบการระดับโลกในปี 2555 จำนวนทั้งสิ้น 56,003 ตัวอย่าง (18 ประเทศ) โดยอาศัยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ซึ่งมีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนทั่วประเทศและทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยการรับรู้โอกาสในการทำธุรกิจ การรับรู้ความสามารถของตนเองที่จะเป็นผู้ประกอบการ การรับรู้ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการประกอบธุรกิจ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย กลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรปและละตินอเมริกา ในขณะที่ปัจจัยการรับรู้ทางด้านสื่อสาธารณะต่อการผู้ประกอบการไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศทวีปยุโรป แต่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย กลุ่มประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกา ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้รับการยกย่องจากสังคมไม่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศทวีปเอเชียแต่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มตัวอย่างในประเทศไทย กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป
คำสำคัญ: ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ; โครงการศึกษาสังคมความเป็นผู้ประกอบการระดับโลก; ประเทศไทย
ABSTRACT
The purpose of this study is to investigate a range of cognitive perceptions and their respective effect on individual’s intent to start a new venture. A cross-cultural comparison between Thailand, Asia, Europe, and Latin American countries is used to further investigate the possible differences between potential entrepreneurs from these distinct national contexts. The empirical analysis includes a GEM data set of 18 countries (n = 56,003) which was collected in 2012. Logistic regression is used to investigate the effect of individual’s cognitive perceptions on EI. Independent variables include individual’s perceived capabilities, the ability to recognize (entrepreneurial) opportunities, risk perception, media attention for entrepreneurship, high status successful entrepreneurs, and entrepreneurship as desirable career choice. Moreover, a cross-cultural comparison of the model is conducted including Thailand, five Asian six, Latin-America and six European nations. The findings support the relationship between individual’s cognitive perceptions and their intent to participate in entrepreneurial activities. Individual’s capability, opportunity recognition, networks and a range of socio cultural perceptions all influence EI significantly. Media attention for entrepreneurship was found to influence EI in Thailand, Asia, and Latin-America, but not in Europe. On the hand, a high status successful entrepreneur was found to influence EI in Asia, and Latin-America, but not in Thailand and Europe.
Keywords: Entrepreneurial Intention; Global Entrepreneurship Monitor (GEM); Thailand
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.