Perception Differences of Auditors, Professional users, and General users towards the New Auditor’s Report
Keywords:
รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่, การสำรวจ, ผู้สอบบัญชี, ผู้ใช้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ, ผู้ใช้ทั่วไป, ประเทศไทย, New auditor’s report, Survey, Auditors, Professional users, General users, ThailandAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ได้สำรวจการรับรู้ของผู้สอบบัญชี ผู้ใช้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพบัญชี และผู้ใช้ทั่วไปในประเทศไทย ที่มีต่อรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่ที่เสนอโดย The International Auditing and Assurance Standards Board (IAASB) นิสิตปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจและนิสิตปริญญาโทสาขาการเงิน เป็นตัวแทนของผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ คำถามประกอบด้วยห้าส่วน: ความรับผิดชอบของผู้บริหาร ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี เรื่องสำคัญจากการสอบบัญชี การดำเนินงานต่อเนื่อง และคุณค่าโดยรวมของรายงาน การสำรวจพบว่า นักวิเคราะห์ทางการเงินเป็นผู้ใช้งบการเงินที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถนำข้อมูลที่เสนอโดยรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้ใช้ทั่วไปไม่ค่อยเห็นด้วยกับข้อมูลในรายงานแบบใหม่เพราะเนื้อหาของรายงานอาจมีความซับซ้อนมากสำหรับพวกเขา ทำให้ละเลยข้อมูลดังกล่าว ในทำนองเดียวกัน ผู้สอบบัญชีไม่ค่อยเห็นด้วยกับรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่เนื่องจากต้องใช้ดุลยพินิจมากขึ้นเมื่อต้องรายงานเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชี ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพรับรู้ว่าหลายประเด็นของมาตรฐานของ IAASB มีประโยชน์มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สอบบัญชีและผู้ใช้ทั่วไป การวิเคราะห์เพิ่มเติมชี้ให้เห็นว่ามีเพียงร้อยละ 27 ของผู้ตอบแบบสอบถามสามารถระบุได้ถูกต้องว่ารายงานของผู้สอบบัญชีแบบมาตรฐานที่ให้เป็นตัวอย่างเป็นความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข ประมาณร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้อย่างถูกต้อง หลังจากอ่านรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่ว่าผู้สอบบัญชีให้ความเชื่อมั่นต่องบการเงินโดยรวม ผลที่เกิดขึ้นเหล่านี้ชี้ให้เห็นโดยนัยว่ามีความแตกต่างของการสื่อสารเกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้และผู้สอบบัญชี ดังนั้น งานสำรวจนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดมาตรฐานในการช่วยหาแนวทางการลดความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ใช้และผู้สอบบัญชีที่เกิดขึ้นจากรายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่
คำสำคัญ รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่, การสำรวจ, ผู้สอบบัญชี, ผู้ใช้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ, ผู้ใช้ทั่วไป, ประเทศไทย
Abstract
This survey examines perceptions of auditors, professional users, and general users in Thailand towards the new auditor’s report issued by the International Auditing and Assurance Standards Board (IAASB). MBA and MS in Finance students are surrogates for general users and professional users. The questions are composed of five areas: management responsibility, auditor’s responsibility, key audit matters, going concern, and overall value of report. This study points out that financial analysts are sophisticated users of financial statements and they can utilize the information provided by the new auditor’s report. General users show lower agreement to information in the new report because the contents of the report may be too complicated for them, leading to their ignoring it. Similarly, auditors show less agreement with the new auditor’s report since they have to exercise more judgment when reporting key audit matters. The results indicate that professional users register several areas of the IAASB’s standard as being more useful compared with auditors and general users. Further analysis reveals that only 27 percent of respondents can correctly identify that the illustrative standard auditor’s report is the unqualified opinion. About 64 percent of respondents can answer correctly, after reading the new auditor’s report that the auditor’s assurance is provided on an overall basis. These findings imply that there is a communication difference arising between users and auditors. Therefore, this survey should be beneficial to the standard setters in order to help them find ways to reduce the misunderstanding between users and auditors arising from the proposed new auditor’s report.
Keywords: New auditor’s report, Survey, Auditors, Professional users, General users, Thailand
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.