ความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชน
Keywords:
Microfinancial Institution, Financial Sustainability, Leadership Sustainability, องค์กรการเงินชุมชน, ความยั่งยืนทางการเงิน, ความยั่งยืนในการบริหารงานที่เกิดจากภาวะผู้นำAbstract
บทคัดย่อโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มออมทรัพย์ตามรูปแบบของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต ที่จังหวัดตราด ใน 2 มิติ คือความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) และความยั่งยืนในการบริหารงานที่เกิดจากภาวะผู้นำ (Leadership Sustainability) การประเมินความยั่งยืนทางการเงิน ประยุกต์จากการศึกษาของ Gokhale และ Smetters (2003) ซึ่งพิจารณาจาก Infinite Horizon Fiscal Imbalance (FI) ประกอบกับเงื่อนไขที่กองทุนสวัสดิการจะไม่ขาดกระแสเงินสดในอนาคต ในส่วนของบทบาทผู้นำที่จะสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการมีกรอบในการประเมิน 4 ประเด็นตาม Center for Excellence in Leadership (2007) ได้แก่ การมุ่งเน้นความสำเร็จ (Focus to Achieve) การสร้างผลกระทบ (Mobilize to Impact) การสร้างแรงผลักดันให้ยั่งยืน (Sustain Momentum) และมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Passion for Excellence) ผลการประเมินความยั่งยืนของกองทุนสวัสดิการชุมชนตัวอย่าง พบว่า กองทุนดังกล่าวสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนทางการเงินถ้าอัตราการหาผลประโยชน์ของกลุ่มออมทรัพย์เกินร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สามารถทำได้ สำหรับความยั่งยืนด้านการจัดการจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการสร้างกลไกการบริหาร มีคณะกรรมการ บริหาร มีกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน ซึ่งควรเป็นรูปแบบที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องระยะยาว ไม่ยึดติดในตัวบุคคล สรุปโดยรวมแล้ว การบริหารสวัสดิการของชุมชน ที่ใช้การสนับสนุนของกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าวสามารถที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน และเป็นรูปแบบที่ควรได้รับการสนับสนุนเนื่องจากจะช่วยให้ชุมชนมีความเข็มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาล
คำสำคัญ: องค์กรการเงินชุมชน ความยั่งยืนทางการเงิน ความยั่งยืนในการบริหารงานที่เกิดจากภาวะผู้นำ
Abstract
This research aims at evaluating sustainability of a community social security fund whose structure contains a linkage between the social security fund and the saving accounts. We evaluate the sustainability in two aspects, financial aspect and leadership aspect. Financial sustainability study follows the framework proposed by Gokhale และ Smetters (2003), which considers an infinite horizon fiscal imbalance (FI), with an additional requirement that the social security fund has no negative cash flow over the horizon. Leadership sustainability follows the framework by Center for Excellence in Leadership (2007), composing of Focus to Achieve, Mobilize to Impact, Sustain Momentum and Passion for Excellence. In the financial sustainability study, we find that the social security fund under the study is sustainable provided that the rate of return of the saving linkage is higher than 8 percent. In the leadership sustainability study, we propose a more formal administration that promotes business continuity.
Keywords: Microfinancial Institution, Financial Sustainability, Leadership Sustainability
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Opinions and discussions in papers published by the Creative Business and Sustainability Journal (CBSJ) are deemed as personal opinions and the responsibility of the writers. They are not the opinions or responsibility of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University.
Papers, content, information etc. appearing in the Journal are deemed to be the copyright property of the Chulalongkorn Business School of Chulalongkorn University. Anybody or any organization that wishes to publish any part of them or use them in any way must obtain written permission from the Chulalongkorn Business School, Chulalongkorn University.