โลหะมีค่ากับคุณสมบัติในการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยง ในภาวะที่ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงและในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก : กรณีศึกษาประเทศไทย

Authors

  • วสกร ตันติกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรพิชยา กุวลัยรัตน์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย

Keywords:

Hedging, Safe Haven, Precious Metals, ป้องกันความเสี่ยง, สินทรัพย์ปลอดภัย, โลหะมีค่า

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ทดสอบคุณสมบัติในการป้องกันความเสี่ยง (hedging) และคุณสมบัติในการเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (safe haven asset) ของโลหะมีค่าในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความผันผวนสูงและในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก โดยใช้ข้อมูลรายวันของผลตอบแทนดัชนี SET 50 total return index และผลตอบแทนรายวันของทองคำ โลหะเงิน และแพลทินัมในรูปสกุลเงินบาท ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2002 จนถึง วันที่ 6 มิถุนายน 2012 และใช้แบบจำลอง GARCH (1,1) ในการทดสอบความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่าทองคำมีคุณสมบัติป้องกันความเสี่ยงอย่างอ่อน (weak hedge) ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา นอกจากนี้การศึกษาพบว่าในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความผันผวนสูงเกินกว่า 1 เปอร์เซนต์ไทล์และในช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลกจากวิกฤตอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2008 ทองคำมีคุณสมบัติเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในการลงทุนอย่างอ่อน (weak safe haven asset) ในขณะที่แร่โลหะเงินและแพลทินัมไม่มีคุณสมบัติในการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในการลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงเวลาอื่นที่ทำการศึกษาพบว่าทองคำไม่มีคุณสมบัติเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในการลงทุนในขณะที่แร่โลหะเงินและแพลทินัมไม่มีคุณสมบัติเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงและสินทรัพย์ปลอดภัยในการลงทุนในทุกช่วงเวลาที่ทำการศึกษา

คำสำคัญ: ป้องกันความเสี่ยง สินทรัพย์ปลอดภัย โลหะมีค่า

 

Abstract

This research investigates the hedging and safe haven properties of three precious metals that are gold, silver, and platinum during extreme stock market volatility conditions and world financial crisis periods. Using GARCH (1,1) model, we study the relationships between daily return of gold, silver, and platinum in Thai baht and daily return of the SET50 total return index from January 3, 2002 till June 6, 2012. The study finds that gold has weak hedging abilities during the period of study why other precious metals do not have hedging abilities in all periods of study. In addition, when the SET50 index return moves more than 1 percentile in extreme market condition and during world financial crisis in 2008, only gold does act as weak safe haven asset during those periods. In any other periods, all three types of precious metals appear to be co-move with the stock market and thus do not have safe haven property.

Keywords: Hedging; Safe Haven; Precious Metals

Author Biographies

วสกร ตันติกุล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

พรพิชยา กุวลัยรัตน์, จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

Downloads

How to Cite

ตันติกุล ว., & กุวลัยรัตน์ พ. (2013). โลหะมีค่ากับคุณสมบัติในการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยง ในภาวะที่ตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนสูงและในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก : กรณีศึกษาประเทศไทย. Creative Business and Sustainability Journal, 34(4), 92–122. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/8983