ผลการดำเนินงานและความต่อเนื่องของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทยในช่วง 1995 - 2014

Authors

  • ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ผลการดำเนินงานของกองทุน, ความต่อเนื่องของผลการดำเนินงาน, กองทุนรวมตราสารทุนในไทย, Fund performance, persistence, Thailand equity funds

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการดำเนินงานและความต่อเนื่องของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเชิงรุก (active funds) ที่ลงทุนในตราสารทุนไทยในช่วงปี 1995-2014 ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ยืนยันผลการศึกษาของงานวิจัยส่วนใหญ่ของกองทุนรวมในตลาดต่างประเทศที่ว่าผลการดำเนินงานของกองทุนรวมโดยเฉลี่ยไม่สามารถชนะผลตอบแทนของตลาดหลังปรับความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือในช่วงปี 1995-2014 กองทุนรวมหุ้นไทยโดยเฉลี่ยได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หลังปรับความเสี่ยงแล้วอยู่ที่ประมาณ 0.115% ต่อปี (หรือมีค่า alpha ที่ -0.115% ต่อปี) และมีเพียง 6 กองทุนจาก 179 กองทุนที่สามารถทำผลตอบแทนชนะตลาดหลังปรับความเสี่ยงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่ากลยุทธ์ในการซื้อกองทุนหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีในอดีต เช่น กองทุนหุ้นที่ชนะค่าเฉลี่ยของกองทุนหุ้นด้วยกัน กองทุนหุ้นที่ชนะตลาด หรือกองทุนหุ้นที่ทำผลงานติดอันดับต่างๆ ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องได้ในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและทางปฏิบัติ (statistically and economically significant) ทั้งในระยะสั้น 1 ปี และระยะยาว 5 ปี จึงสรุปได้ว่าไม่มีกลยุทธ์การลงทุนในกองทุนรวมที่ใช้ผลงานในอดีตใดๆแล้วจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าผลตอบแทนตลาดอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญในทางสถิติและทางปฏิบัติ ผลการศึกษาของกองทุนรวมหุ้นไทยช่วงปี 1995-2014 นี้จึงสนับสนุนทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient Market Hypothesis) ที่เชื่อว่ากลยุทธ์การลงทุนแบบซื้อแล้วถือ (buy and hold strategy) พอร์ตโฟลิโอที่ได้ผลตอบแทนตามตลาดหรือกองทุนดัชนี (index funds) ที่มีค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนและค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (front- and back-end fees) ที่ต่ำ เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุด

คำสำคัญ  ผลการดำเนินงานของกองทุน  ความต่อเนื่องของผลการดำเนินงาน  กองทุนรวมตราสารทุนในไทย

 

Abstract

This study investigates the performance and its persistence of Thailand equity active mutual funds during 1995-2014. The results confirm the results of other studies of the mutual fund performance in developed markets. That is, in the aggregate, Thailand equity active mutual funds have underperformed the benchmark (i.e., the SET total return index) on a risk-adjusted basis. Specifically, during 1995-2014, the funds on average earn an alpha of -0.115% per year. There are only 6 out of 179 funds that have significantly outperformed the benchmark on a risk-adjusted basis. In addition, this study indicates that several strategies of buying top-performing funds in the past cannot generate statistically and economically significant profits in the future. In other words, there was no fund performance persistence during 1995-2014. In conclusion, the results of this study support the Efficient Market Hypothesis, stating that the best investment strategy is to buy-and-hold a well-diversified portfolio that mimics the market portfolio or a low-load index fund.

Keywords: Fund performance, persistence, Thailand equity funds

Author Biography

ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ

Downloads

Published

2017-08-28

How to Cite

เจนวิทยาโรจน์ ณ. (2017). ผลการดำเนินงานและความต่อเนื่องของผลการดำเนินงานของกองทุนรวมตราสารทุนในประเทศไทยในช่วง 1995 - 2014. Creative Business and Sustainability Journal, 39(2), 57–89. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/97409