การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือโยโกฮาม่า

Authors

  • กฤษณา วิสมิตะนันทน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ระหัตร โรจนประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ท่าเรือกรุงเทพ, ท่าเรือโยโกฮาม่า, การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ, ทฤษฎีสถาบัน, ทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, Bangkok port, Yokohama Port, Waterfront Development, Institutional Theory, Stakeholder Theory

Abstract

บทคัดย่อ

ท่าเรือกรุงเทพเป็นท่าเรือที่เกิดขึ้นและเติบโตควบคู่กับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย หากแต่บทบาทของท่าเรือกรุงเทพได้ลดลงตามลำดับ เนื่องจากผลกระทบด้านจราจร การส่งเสริมการใช้ท่าเรือแหลมฉบัง และการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ทำการศึกษาการพัฒนาของท่าเรือโยโกฮาม่าและพื้นที่โดยรอบ ด้วยมุมมองประวัติศาสตร์ (Historical Approach) และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยอ้างอิงกรอบการวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีสถาบัน (Institutional Theory) และทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Theory) เพื่อชี้ให้เห็นกระบวนการและปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาในท่าเรือโยโกฮาม่าและการพัฒนาของพื้นที่รอบท่าเรือ ผลการวิเคราะห์สามารถนำเสนอแนวทางนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำท่าเรือกรุงเทพให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสัมฤทธิผล

คำสำคัญ  ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือโยโกฮาม่า การพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ ทฤษฎีสถาบัน ทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

Abstract

Bangkok Port was developed and grown together with the development of Thai economy. However, the role and importance of its have been dropped in recent years due to traffic problem, the opening of Lamchabang port and the change in social and economic structure. This qualitative research studies the development of Yokohama port and its surrounding area using historical approach and in-depth interview with the stakeholders. Based on the analysis under the framework derived from institutional theory and stakeholder theory, the mechanism and factors that drove the development of Yokohama port and its surrounding area were identified. The analysis results can provide the sustainable and efficient guideline policy to develop Bangkok port waterfront area.

Keywords:  Bangkok port, Yokohama port, waterfront development, institutional theory, stakeholder theory

Author Biographies

กฤษณา วิสมิตะนันทน์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

ระหัตร โรจนประดิษฐ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

Downloads

Published

2017-08-28

How to Cite

วิสมิตะนันทน์ ก., โรจนประดิษฐ์ ร., & สุทธิวาทนฤพุฒิ ก. (2017). การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือโยโกฮาม่า. Creative Business and Sustainability Journal, 39(2), 157–178. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/97421