คำเมือง-ลาว ภาษาและวัฒนธรรมพี่น้อง
Main Article Content
Abstract
ท้องถิ่นภาคเหนือกับท้องถิ่นภาคอีสานมีความคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ทางด้านภาษานั้นพบว่ามีเสียงพยัญชนะบางเสียงใช้ร่วมกัน คือจะไม่มีเสียง /ช/ กับ /ร/ แต่จะออกเสียงเป็น /จ หรือ /ซ/ แทน/ช/ และออกเสียง /ฮ/แทน/ร/ ทั้งสองถิ่นไม่มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำบางเสียงเหมือนกับภาษากลาง และคำบางคำในภาษาถิ่นเหนือกับภาษาถิ่นอีสานมีความหมายเหมือนกันหรือสามารถใช้แทนกันได้ และมีเสียงวรรณยุกต์จำนวน6 หน่วยเสียงเท่ากัน ทางด้านวัฒนธรรมประเพณีนั้นก็มีความใกล้เคียงกันคือ ทั้งสองท้องถิ่นมีพิธีเรียกขวัญซึ่งภาคเหนือเรียกว่า “สู่ขวัญ” ส่วนภาคอีสานเรียกว่า “สูดขวัญ” โดยพิธีนี้มีความเชื่อพื้นฐานเดียวกันคือให้ความสำคัญกับ “ขวัญ” ที่อยู่ติดตัวคนมาตั้งแต่เกิด ดังนั้นลักษณะของพิธีกรรมจึงคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่เหมือนกันอีกประเพณีหนึ่งคือประเพณีเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวที่ภาคเหนือเรียกว่า “อู้บ่าวอู้สาว” ส่วนภาคอีสานเรียกว่า “ผญาเกี้ยว” ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงภูมิปัญญาในการใช้ภาษาโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง แต่สิ่งที่สอดแทรกในประเพณีนี้คือมาตรการที่ต้องการให้หนุ่มสาวประพฤติอยู่ในกรอบของสังคม หากผู้ใดสัมผัสล่วงเกินกันจะถูกบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วลงโทษ จะเห็นว่าสองภูมิภาคมีความคล้ายคลึงทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจนแยกกันไม่ออกกลายเป็นภาษาพี่น้องและวัฒนธรรมพี่น้องที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจโดยถ่องแท้โดยไม่ต้องคาดเดา
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.