ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้านบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก 5 คณะ 14 สาขา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2552 จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 300 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านอื่นๆ มากที่สุด รองลงมา คือ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ และบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการบริการและพัฒนานักศึกษา ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นรายด้าน
1) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านให้คำแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียนให้เหมาะสมกับสถานภาพของนักศึกษา รองลงมาบทบาทด้านการให้คำแนะนำแก่นักศึกษาในการเลือกวิชาเอกและบทบาทการให้คำปรึกษาแนะนำหรือตักเตือน เมื่อผลการเรียนของนักศึกษาต่ำลง
2) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาด้านบริการและพัฒนานักศึกษา พบว่านักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา ในด้านนี้ในระดับมากโดยให้ความสำคัญต่อบทบาทด้านการให้อาจารย์ที่ปรึกษานัดพบนักศึกษาก่อนลงทะเบียนในทุกภาคการศึกษา รองลงมาคือรักษาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของนักศึกษาในความดูแลไว้เป็นความลับ
3) บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านอื่นๆ ผลวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านอื่นๆ ในระดับมากที่สุด โดยบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาให้ความสำคัญ คืออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา รองลงมาเป็นที่พึ่งพาของนักศึกษาได้ และเป็นผู้แต่งกายสะอาด เรียบร้อย น่านับถือ ซึ่งความคิดเห็นในด้านผลการปฏิบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาพบว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกที่นักศึกษาได้รับจริงคือ การเป็นผู้แต่งกายสะอาด เรียบร้อย น่านับถือ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.