การศึกษาความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจเพื่อจัดตั้งร้านอาหารมังสวิรัตเพื่อสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ญาดา ยั่งยืน

Abstract

การค้นคว้าวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และแผนการดำเนินธุรกิจร้านอาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) เพื่อสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าร้านอาหารเจวัจนีย์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยอินทนน์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 532 ราย จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพ และนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น ส่วนวัตถุประสงค์หลักที่ผู้บริโภครับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ เพื่อสุขภาพที่ดี และไม่ต้องการเบียดเบียนสัตว์ ส่วนใหญ่จะรับประทานในร้านอาหารมังสวิรัติโดยรับประทาน 1-4 ครั้งต่อเดือน รองลงมา รับประทานทุกวันทุกมื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังชอบรับประทานอาหารมังสวิรัติที่มีความอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ และชอบอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว อาหารเมนูเพื่อสุขภาพ และอาหารท้องถิ่น

            การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ และแผนการดำเนินธุรกิจร้านอาหารมังสวิรัติ  (1) ด้านการแข่งขันธุรกิจ พบว่าร้านอาหารมังสวิรัติคู่แข่งขันรายใหม่สามารถเข้าสู่ธุรกิจได้ง่ายเนื่องจากมีอุปสรรคในการเข้าสู่ธุรกิจต่ำ การแข่งขันจึงมีสูง  (2) ด้านโอกาสทางการตลาด พบว่า ร้านอาหารมังสวิรัติที่มีบริการทั่วไปในท้องตลาดมักจะคำนึงถึงแต่รสชาดความอร่อยมากกว่าคุณค่าทางโภชนาการเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ร้านอาหารมังสวิรัติเพื่อสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่จะเน้นการปรุงอาหารมังสวิรัติให้มีรสชาดอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการ การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพปราศจากสารเคมี และการคิดค้นสูตรอาหารพิเศษที่คู่แข่งขันไม่มีให้บริการและวางตำแหน่งสินค้าที่ราคาปานกลางแต่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ทำเลที่ตั้งของร้านอยู่บนเส้นทางไปอุทยานแห่งชาติดอยอิทนนท์ดังนั้นโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะแวะพักริมทางเพื่อรับประทางอาหารที่ร้างซึ่งมีการจัดบรรกาศของร้านที่สะอาดร่มรื่นจึงมีสูง  (3) ด้านการลงทุนธุรกิจให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี คือ มีอัตราผลตอบแทนภายในโครงการร้อยละ 13 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการคือร้อยละ 7.25 มูลค่าการลงทุนของโครงการรวมทั้งสิ้น 2,689,900 บาท แหล่งที่มาของเงินทุนมาจากส่วนของเจ้าของธุรกิจร้อยละ 49.2 เงินกู้ระยะยาวร้อยละ 44.61 สำหรับจุดคุ้มทุนในปีแรก (ยอดขายคุ้มทุนต่อปี) จำนวน 1,053,484.16 บาทต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 10 เดือน

Article Details

Section
Research Articles