ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 259 คน ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 345 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.10 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การสอนในสถานศึกษาและปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการศึกษา และมีประสบการณ์ในการทำงาน 1-2 ปี สาระความรู้นอกเหนือจากการเรียนการสอนในหลักสูตรที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องการ ได้แก่ (1) ด้านการวางแผนปฏิบัติการสอนในรายวิชาที่สอน มีความต้องการเพิ่มเวลาในการเรียนรู้ด้านการเขียนแผนการเรียนรู้โดยเฉพาะ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ (2) ด้านการปฏิบัติการสอนในรายวิชาที่สอน มีความต้องการการเตรียมสถานการณ์การสอนให้พร้อมสอน การใช้ทักษะและเทคนิคในการใช้สื่อการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) ด้านการพัฒนาคุณภาพการสอนในรายวิชาที่สอน มีความต้องการพัฒนาวิธีสอน การพัฒนาสื่อและนวัตกรรม และการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (4) ด้านการปฏิบัติงานอื่นในหน้าที่ครูมีความต้องการความรู้ด้านการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการจัดกิจกรรมแนะแนว และการจัดประชุม อบรม สัมมนา (5) ด้านคุณลักษณะความเป็นครู มีความต้องการทราบแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับความเป็นครู การมีเจตคติที่ดีต่อความเป็นครู และความตั้งใจและความสนใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (6) ด้านการพัฒนาความเป็นครู มีความต้องการการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผลที่เกิดกับผู้เรียน ส่วนปัญหา อุปสรรคในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู พบว่า สื่อการเรียนในโรงเรียนไม่เพียงพอ เตรียมการสอนไม่ทัน และไม่มีความรู้ในการจัดทำสื่อ ควบคุมนักเรียนในชั้นเรียนไม่ได้ และอาจารย์นิเทศไม่ได้ชี้แนะการส่งเอกสาร กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นอกจากนี้พบว่านักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสนอแนะให้เพิ่มชั่วโมงการเรียนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และเทคนิควิธีสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อยากให้มีการสัมมนาระหว่างอาจารย์นิเทศกับครูพี่เลี้ยงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และวิธีการนิเทศควรมีความแตกต่างกัน เพราะประสบการณ์ด้านการสอนของนักศึกษาไม่เท่ากัน
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.