การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
Main Article Content
Abstract
ในอดีตการที่จะนำเอาตัวผู้กระทำผิดแล้วหลบหนีไปยังต่างประเทศกลับมาลงโทษให้ได้นั้น เป็นไปได้ยากแต่เมื่อเทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การคมนาคมติดต่อสื่อสารก็สามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว จึงได้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศขึ้น ทั้งในลักษณะของการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หากไม่ได้ทำสนธิสัญญาก็มีการวางหลักเกณฑ์ที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปลงโทษไว้ เช่น ความผิดนั้นจะต้องเป็นความผิดทางอาญาที่ทั้ง 2 ประเทศถือว่าเป็นความผิดและมีอัตราโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปี และคดีไม่ขาดอายุความ และมีการกำหนดความผิดที่ไม่มีการส่งตัวในกรณีความผิดทางการเมือง ความผิดต่อศาสนา หรือความผิดทางทหาร เป็นต้น ดังนั้นเมื่อผู้กระทำความผิดได้หลบหนีไปยังต่างประเทศแล้วจึงยังมีโอกาสที่จะถูกนำตัวกลับมาลงโทษได้ แต่ในบางกรณีก็ยังอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ที่ทั้ง 2 ประเทศอาจมีการบัญญัติในเรื่องของความผิดที่แตกต่างกัน ทำให้รอดพ้นไปได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพยายามสร้างหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาให้ทัดเทียมกันในทุกๆ ประเทศ ซึ่งในประเทศไทยในปัจจุบันก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551 เพื่ออุดช่องว่างต่างๆ ซึ่งก็อาจจะช้าเกินไป เพราะที่ผ่านมาก็มีหลายกรณีที่ไม่สามารถจะเอาผู้ที่กระทำความผิดกลับมาลงโทษได้
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.