Carbon Footprint ฉลากสินค้าเทรนด์ใหม่ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม
Main Article Content
Abstract
จากปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค การลดก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตคือ การเลือกซื้อสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ผู้บริโภคจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยได้มีการกำหนดฉลากคาร์บอน (Carbon Footprint) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับแสดงถึงสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันไป หากสินค้าใดได้เบอร์ 5 หมายความว่าสินค้านั้นอยู่ในกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยที่สุดและเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันในต่างประเทศพยายามผลักดันให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นมาตรฐานสากล ISO 14067 ซึ่งคาดการณ์ว่าอีก 2 ปีข้างหน้าจะมีการบังคับมาตรฐานนี้อย่างจริงจังเพื่อเป็นการผลักดันให้ผู้ผลิตลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และผลักดันให้สินค้าติดฉลากคาร์บอนเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการของไทยควรต้องหันมาใส่ใจและเตรียมรับมือกับมาตรการดังกล่าวเพื่อลดการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.