สำรวจความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในภาคเหนือ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณความต้องการและทักษะของตำแหน่งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานประกอบการต่างๆ ในเขตภาคเหนือตอนบนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลการวิจัยที่ได้จะนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาในการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ แล้วมีคุณสมบัติตามความต้องการของผู้ประกอบการในเขตภาคเหนือตอนบน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ด้านอุปสงค์ ปริมาณแรงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีจำนวนไม่เพียงพอในบางตำแหน่ง ปัจจุบันตำแหน่งที่ต้องการมาก คือ เจ้าหน้าที่ธุรการ และ โปรแกรมเมอร์ และภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ตำแหน่งที่ต้องการมากคือ โปรแกรมเมอร์ และ เว็บโปรแกรมเมอร์ การเปลี่ยนแปลงการใช้แรงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จะเพิ่มขึ้นโดยโอกาสที่จะใช้โปรแกรมเมอร์มาช่วยงานมากกว่าการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพียงด้านเดียว ทักษะที่จำเป็นของแรงงานนั้นต้องมีทักษะเชิงปฏิบัติมากกว่าการเรียนตามทฏษฏี ปัญหาที่มักพบในผู้จบการศึกษา คือ ขาดทักษะภาษาอังกฤษ ขาดแนวคิดในเชิงธุรกิจ ขาดประสบการณ์ ขาดการประยุกต์งาน เรียนรู้งานช้า เป็นต้น
ด้านอุปทาน ปัจจุบันหลักสูตรที่เปิดสอนยังไม่ตรงกับความต้องการบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดแคลนในท้องถิ่นเนื่องจากสถาบันการศึกษา ส่วนใหญ่มันเน้นการผลิตบุคลากรที่มีทักษะตรงกับงานบ้างไม่ตรงกับงานบ้าง เช่น การเรียนออกแบบเว็บไซต์ และ การสร้างสื่อแอนนิเมชั่น ซึ่งยังไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ สาขาที่นิยมเปิดในระดับ ปวส. มากที่สุด คือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้ยังไม่ตรงกับความต้องการแรงงานในภาคเหนือมากนัก หน่วยงานที่ให้การอบรมระยะสั้นก็เป็นอีกแหล่งอีกที่ช่วยพัฒนาให้แรงงานมีทักษะตรงกับความต้องการอยู่ในระดับพอใช้ ซึ่งการวิจัยนี้ยังไม่รวมกับโรงเรียน เนื่องจากขอบเขตงานวิจัยไม่รวมกับกลุ่มเป้าหมายระดับมัธยม
ปัญหาของการสอน ได้แก่ ราคาตำราสูง เนื้อหาไม่ทันสมัยและยาก ห้องปฏิบัติการมีจำกัด และไม่รองรับการใช้งาน เป็นต้น ทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการยังไม่สอดคล้องกับทักษะนักศึกษาที่เรียนมาเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการแรงงานที่ใช้งานได้ทันทีและเรียนรู้เร็ว ขณะที่สถาบันการศึกษามักจะสอนในหลักทฤษฎีและโปรแกรมหลากหลายแต่ไม่เรียนลึกเพื่อให้นักศึกษาจบไปประกอบอาชีพได้หลายตำแหน่งงานซึ่งผู้ประกอบการมองว่าเป็นการเรียนรู้แบบรู้ไม่จริงซึ่งการรู้เพียงผิวเผินนี้ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการArticle Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.