การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ 2) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพจากแนวคิดของนักคิด นักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องสมรรถนะของบุคคล การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการนิเทศการศึกษา และ
การสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศต่อสมรรถนะการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ตามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวัง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แนวการสัมภาษณ์ระดับลึก
และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้รับการนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และ
การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Priority Need Index: PNI) 2) สร้างกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ โดยตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบความสอดคล้องเหมาะสมของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ สถิติที่ใช้ คือ การคำนวณค่า
ดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence = IOC) 3) พัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่เขต 1-6 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้มี 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมการพัฒนา คือ เอกสารประกอบการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ส่วนที่ 2 แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ แบบสังเกตพฤติกรรมการนิเทศการศึกษา แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศการศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจของศึกษานิเทศก์ต่อกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์ผลการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์กลุ่มเป้าหมาย
ผลการวิจัยพบว่า
- สมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ประกอบด้วย
สมรรถนะการนิเทศการศึกษา 3 ด้าน ดังนี้ สมรรถนะด้านความรู้ ในศาสตร์การนิเทศที่หลากหลาย ความรู้เกี่ยวกับโรงเรียนที่นิเทศ การวิเคราะห์ผู้รับการนิเทศและผู้เรียนรายบุคคล สภาพปัจจุบันปัญหาความต้องการของผู้รับการนิเทศ การนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการนิเทศการศึกษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เนื้อหาสาระวิชาที่นิเทศ เทคนิคการนิเทศแนวใหม่ การสร้างนวัตกรรมการศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมรรถนะด้านทักษะความสามารถในการเป็นผู้อำนวยการทางวิชาการ สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การปฏิบัติ เป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการแก่โรงเรียนได้ สร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา วินิจฉัยเด็กนักเรียนได้ ให้คำแนะนำด้านวิชาการแก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนได้ ร่วมพัฒนางานด้านวิชาการ ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาและแก้ปัญหาทางวิชาการได้ ใช้เทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ประสานงานกับผู้อื่นได้ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้รับการนิเทศโดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และสามารถสรรหาวิทยากรเพื่อช่วยให้ความรู้แก่ผู้รับการนิเทศได้เหมาะสม สมรรถนะด้านคุณลักษณะและแรงจูงใจ คือ มีคุณสมบัติการเป็นโค้ชและพี่เลี้ยง มีภาวะผู้นำ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาวิชาการ ใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ มีความเป็นกัลยาณมิตร มีความเชื่อว่าบุคคลสามารถพัฒนาได้ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มี
ความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบทำงานจนสำเร็จ และ เป็นนักวิจัย
- กระบวนการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การตระหนักรู้ (Awareness) ซึ่งมีกิจกรรมการพัฒนา 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมมองกว้างคิดไกล กิจกรรมใส่ใจการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมแสดงแนวความคิดใหม่ และกิจกรรมปรับใช้ในการปฏิบัติงาน ขั้นที่ 2 มุ่งสู่การนิเทศการศึกษาภายใต้การปฏิบัติงาน (Under Learning on the Job) ขั้นที่ 3 สะท้อนวิธีปฏิบัติการนิเทศ (Reflection Supervision Approach) และขั้นที่4 ประยุกต์ใช้สู่มืออาชีพ (Apply to Professional)
3. ผลการพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ พบว่า
3.1 สมรรถนะด้านความรู้ ศึกษานิเทศก์กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาร้อยละ 29.15
3.2 สมรรถนะด้านทักษะความสามารถในการนิเทศการศึกษา พบว่า ศึกษานิเทศก์สามารถสร้างนวัตกรรมการนิเทศการศึกษาด้วยรูปแบบของตนเองโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการวิจัย และนำไปสู่การได้รับรางวัลศึกษานิเทศก์ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีในการนิเทศการศึกษา
3.3 สมรรถนะด้านคุณลักษณะการนิเทศการศึกษา พบว่า ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจ ต่อการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์กลุ่มเป้าหมาย เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณลักษณะ ด้านทักษะความสามารถ และด้านความรู้
The purposes of this research were to 1) study educational supervision’s competency to Professional supervisors 2) the process to develop the competencies for educational supervision to professional supervisors 3) for development supervision’s competency of supervisors to professional supervisors. The methods include 1) study from the concept of academic thinkers on the performance of individuals. Interviews with experts in educational supervision and the opinion of the receiver to oversee the performance of the Supervision and prospective composed of school administrators and teachers. Research tool were in depth interviews and questionnaires on the recipient's supervision. Data were analyzed using content analysis techniques. And analysis of key indicators of needs (Priority Need Index: PNI).; 2) constructing the method for development of supervision’s competency to Professional supervisor by testing the reliability and possibility of the above method ; Research tool were testing of the reliability and possibility of the above method Statistic were Index of Item Objective congruence ; and 3) developing the educational supervision’s competency to professional supervisor ;Population were 12 person from Chiang Mai Primary Educational Service Area Offices 1 to 6., research tool have 2 path; 1) The guide of development “Educational supervision to professional supervisor. 2) Survey to need development of supervisor, Cognitive test performance in educational supervision to Professional supervisor Behavior Observation Supervision and Satisfaction recipient Supervision. The statistics used are the average, S.D., percentage and synthesis of supervision.
The results show that:
1.the supervision’s competency of supervisors to professional supervisors consists of 3 categories: knowledge competency were Knowledge of supervision, Knowledge of school, analyze recipient Supervision and individual learners, current conditions, problems and needs of the recipient's supervision, the research process used in educational supervision, the use of information technology for education, the content of the communication, technical supervision, new knowledge, innovation studies. And knowledge in the core curriculum of basic education. Performance skills is the ability to be technical director, To link knowledge into practice, Can be a mentor to the school academically, To create a network to improve the quality of education, Children can be diagnosed, Can advise the academic school administrators and teachers, Academic development, The process can be used in research, development and academic solutions, can be used technology in educational supervision as appropriate, Can coordinate with others, Recruiting speakers to help educate, the recipient has the right to oversee and promote self-learning, receiver to oversee the creation of professional learning communities. Competencies, attributes and motivation is qualified as a coach and mentor leadership. Accept changes to the academic development. Always eager to learn A true friend It is believed that a person can develop as researchers have confidence in themselves. creativity And responsible work complete. 2. the method for development of supervision’s competency to professional supervisors are composed of 4 steps :,Step 1 – awareness composed of 4 activities (broadly view and think further, activities concerning change, activities expressing new ideas, and activities applied for jobs Step 2 – aiming to the educational supervision under learning on the job Step 3 – reflecting the supervision approach, and Step 4 – to apply for professional.
3. The development of performance, The study found that:
3.1 Performance knowledge Supervisors have targeted knowledge competencies in educational Supervision to become a professional supervisors. After developing a higher percentage of 29.15.
3.2 Performance skills, the ability to oversee the study found that supervisors can create innovative educational supervision in the form of self-responsibility with the school as a research base.
3.3 Performance features educational supervision, which is measured by the inquiry. Satisfaction recipient Supervision found that supervision recipients were satisfied on the supervision of supervisors prospects. In order from most to least the following features. The skills and knowledge
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กระทรวงศึกษาธิการ.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การพัฒนาศึกษานิเทศก์แนวใหม่ :เอกสารการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาศึกษานิเทศก์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ .
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร .
ชาลี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
นภาเดช บุญเชิดชู. (2552). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. วิทยานิพนธิ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency Model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ : กราฟโกซิสเต็มส์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2556). Competency – Based Approach. กรุงเทพฯ : กราฟโกซิสเต็มส์.
มาเรียม นิลพันธ์. (2554). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ กิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. ปีที่ 31(ฉบับที่ 2), หน้า149-หน้า166
ยุพิน ยืนยง. (2553). การพัฒนารูปแบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency – Based HRM. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). เอกสารประกอบการประชุมสภาพการศึกษา ครั้งที่ 2/2552 วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุม พลางกูร สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2547).Competency Dictionary. กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์จำกัด,
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์.(2551). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
David C. McClelland.(1973). “Testing for Competence rather than Intelligence.” American Psychologist. Retrieved December, 12, 2011, from www.ei.Haygroup.com.
Webb, L.D. and Norton,M.S.(1999). Human Resources : Personnel Issues and Needs in Education. Upper Saddle River ,New Jersey : Merrill.