ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปางที่มีต่อ
ความพร้อมและความต้องการในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชี และ 2) ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปาง ประชากรคือหัวหน้าสำนักงานบัญชี จำนวน 31 คน และผู้ช่วยผู้ทำบัญชีของสำนักงานบัญชีแห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 62 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปางที่มีต่อความพร้อมและ
ความต้องการในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชี มีดังนี้คือ เห็นควรมีการรับรองคุณภาพ ร้อยละ 58.06 มีความพร้อมต่อการรับรอง ร้อยละ 41.94 และ มีความต้องการได้รับช่วยเหลือ ร้อยละ 29.03 และ 2) ข้อกำหนดการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีมีระดับมากที่สุดในด้านการจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี ( = 4.63, S.D. = 0.440) ด้านประสิทธิภาพในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D.= 0.495) และข้อกำหนดการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับรองคุณภาพของสำนักงานบัญชีในจังหวัดลำปาง มีคะแนนเรียงจากมากไปน้อยได้แก่ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของสำนักงานบัญชี ข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี การจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี การปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี การจัดการทรัพยากรของสำนักงานบัญชี การติดตาม ตรวจสอบของสำนักงานบัญชี และความรับผิดชอบของผู้บริหารของสำนักงานบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นหากสำนักงานบัญชีใดได้รับการรับรองก็เท่ากับเป็นการรับรองเบื้องต้นแล้วว่า สำนักงานบัญชีนี้มีมาตรฐานการทำงานที่ดี สร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่สนใจจะใช้บริการ
The purpose of this research were 1) to situation of accounting offices affected to readiness and need to quality certification of accounting offices and 2) regulation of quality certification affected to efficiency of quality certification of accounting offices in Lampang Province. The population are 31 head of accounting offices and 31 assistant accountant in accounting offices total 62 people. The research tool was questionnaire. The descriptive statistics was applied to analyze: percentage, frequency, average and Multiple regression analysis.
The results showed that 1) situation of accounting offices affected to readiness and need to quality certification of accounting offices as follow: opinion , readiness and need to quality certification of accounting office are 58.06 ,41.94 and 29.03, subsequently. And 2) regulation of quality certification was maximum in document management of accounting offices ( =4.63, S.D.=0.440) , efficiency of quality certification of accounting offices (= 4.54, S.D.= 0.495) and the highest regulation of quality certification affected to efficiency in quality certification of accounting offices in Lampang Province follow by processes related to customer of accounting offices, regulation in ethics of accounting offices, document management of accounting offices, operations of accounting offices, human resource management of accounting offices, monitoring of accounting offices, responsibility of head of accounting offices and also statistically significant at the 0.05 level. Therefore, quality certification of accounting offices means that it has a good standards that could create reliability and confidence to customers.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (ม.ป.ป.). การรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ, ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2558, จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=2813&filename=index
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. ประกาศ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี พ.ศ. 2558 . กรุงเทพมหานคร, 2558.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2558). ธุรกิจบริการ:วิชาชีพบัญชี. ค้นเมื่อ 21ธันวาคม 2558, จากhttp://www.dtn.go.th/files/94/Media/Mk/acc29-05-55.pdf
กาญจนา นันทพันธ์. (2555). ความคิดเห็นของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ต่อหลักเกณฑ์การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ปิยะ สิมมาสุขและศิริพร พรหมนา. (2558). คุณภาพการจัดการสํานักงานบัญชีในจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก http://e-article.plu.ac.th/files/2558/macc581103.pdf
ประดินันท์ ประดับศิลป์และลักษณา เกตุเตียน. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. งานวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภัทรวดี วิบูลสมบัติ. (2556). คุณภาพของสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สืบค้น
เมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก http://e-article.plu.ac.th/index.php/2556/17-acc/4-acc560006.
ภูริชญา ตาวิญโน. (2555). ปัญหาการพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง. (2558). แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) ฉบับทบทวน. สืบค้น เมื่อ 21 ธันวาคม 2558, จาก http://www.lampang.go.th/stragegic/index_pl.htm.
เพ็ญธิดา พงษ์ธานี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. (งานวิจัย). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2545). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารคน, 23, 98-102.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2552). หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิทยานิพนธ์และรายงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สำนักพัฒนาบัญชีธุรกิจ, (ม.ป.ป.). กรมพัฒน์ฯ ลงพื้นที่ตรวจสำนักงานบัญชีคุณภาพทั่วประเทศเตรียม พร้อมธุรกิจบัญชีรับผลกระทบจาก AEC. ฉบับที่ 62/6 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=9481&filename=index
สำนักงานบัญชีคุณภาพ. ( 2558 พฤษภาคม). ขั้นตอนการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. DBD Accounting . (38), 6.
แสงระวี อยู่ทอง. (2556). รูปแบบและปัญหาในการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2), 89-102.