แนวทางการพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของผู้ประกอบการเพื่อการบริหารองค์กร แบบดุลยภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงศักยภาพภาวะผู้นำของผู้ประกอบการเพื่อการบริหารองค์กรแบบดุลยภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทยการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งได้สร้างตามความมุ่งหมายและกรอบแนวคิดของการวิจัยที่กำหนดจากผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากโครงการ “สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต” ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ในเขตภาคเหนือโดยกำหนดให้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 400 ราย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช่ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) เนื่องจากข้อมูลในการประกอบธุรกิจมีความสำคัญและต้องให้ผู้ประกอบการสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก ( = 3.10, S.D. = 0.41) โดยผู้ประกอบการมุ่งการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากการทำงานประจำหรือจากความรู้ที่มีภายในตัวผู้ประกอบการ การเห็นโอกาสจากการดำเนินธุรกิจและจากผู้ที่เกี่ยวข้องและเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเสนอแนะข้อมูลให้กับฝ่ายบริหารได้ ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารองค์กรแบบสมดุลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.33, S.D. = 0.89) โดยในรายข้อแต่ละข้ออยู่ในระดับมาก ได้แก่ การติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของลูกค้าใหม่และความสามารถในการทำกำไร โดยแนวทางเพื่อพัฒนาศักยภาพของภาวะผู้นำของผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดการบริหารแบบสมดุลควรมุ่งเน้น 1.) สร้างบทบาทหน้าที่ของ ภาวะผู้นำอย่างผู้ประกอบการ การตัดสินใจ การรับรู้โอกาสธุรกิจอย่างผู้ประกอบการและการบริหารจัดการโอกาสทางธุรกิจอย่างผู้ประกอบการ 2.) การบริหารวิสาหกิจที่ใช้แนวทางการบริหารตามหน้าที่ การบูรณาการภาวะผู้ประกอบการกับการบริหารการตลาด การบริหารการผลิต การบริหารองค์การ และการบริหารการเงิน และ 3.) การพัฒนาภาวะผู้ประกอบการต้องมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนนโยบายการพัฒนาที่ต้องการให้แหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ ใช้งบประมาณ การติดตาม เพื่อให้เกิดผลทางตรงและมีความรวดเร็วในการพัฒนาธุรกิจ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.