การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากกลยุทธ์ลงทุนโดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ

Abstract

                การวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากกลยุทธ์ลงทุนโดยใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนโดยใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อมากำหนดเป็นกลยุทธ์การลงทุน เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการทดสอบมี 
5 เครื่องมือ คือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA 10 วัน ) เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA 25 วัน) ดัชนีวัดการแกว่ง (Stochastic Oscillator)  ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (14-Relative Strength Index : 14-RSI) และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง/แยกทาง (MACD) ทำการวิจัยจากตัวอย่าง จำนวน 13 หลักทรัพย์ใน SET 50
โดยใช้ช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2554 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยจำลองการซื้อขายตามสัญญาณ
ทางเทคนิคจากเครื่องมือเทคนิคดังกล่าวด้วยโปรแกรม Meta Stock   เพื่อคำนวณหาผลกำไรขาดทุนจากการลงทุนในหลักทรัพย์  หลังจากนั้นก็จะมีการคำนวณหาความเสี่ยงของหลักทรัพย์เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้รับกับความเสี่ยง

                ผลของการวิจัยพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค 14-RSI ให้ผลตอบแทนกำไรจากการลงทุนสูงสุด
ในหลักทรัพย์ทั้ง 13 หลักทรัพย์ โดยหลักทรัพย์บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT
มีผลตอบแทนสูงสุด รองลงมา คือ เครื่องมือเทคนิค MACD, Stochastic Oscillator, SMA 25 วัน และ SMA 10 วัน ตามลำดับ  ในด้านการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องมือทางเทคนิคที่ให้สัญญาณซื้อขายพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค Stochastic Oscillator, 14- RSI และ MACD สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนได้ ส่วนเครื่องมือ SMA 10 วัน และ SMA 25 วันไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือ
ในการกำหนด   กลยุทธ์การลงทุนได้ การวิเคราะห์เครื่องมือทางเทคนิคที่ให้สัดส่วนความถูกต้อง
ของสัญญาณซื้อขายพบว่า เครื่องมือทางเทคนิค 14- RSI ให้ค่าความน่าจะเป็นของความถูกต้องใน
การส่งสัญญาณซื้อขายสูงสุด โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.57-0.96  ดังนั้นจากผลการศึกษานี้ นักลงทุนระยะสั้นควรเลือกเครื่องมือทางเทคนิค Stochastic Oscillator และ 14- RSI เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์
การลงทุน ส่วนนักลงทุนระยะกลางควรเลือกเครื่องมือ MACD เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์
การลงทุน

            The analysis of returns from various technical strategies of investment in the Stock Exchange of Thailand aims at comparing different levels of investment returns. The five technical instruments contained herein are as follows: 10-day Simple Moving Average (SMA), 25-day SMA, Stochastic Oscillator, 14-Relative Strength Index (14-RSI), and Moving Average Convergence and Divergence (MACD). The investigated data are collected from 13 securities in SET50 covering the period between 1 January 2011 and 31 December 2015. By buying and selling simulation in accordance with technical signal from instruments by using Meta Stock Program, the loss and profit calculation from investment was conducted. And the researcher calculated stock risk for the comparison between return and received risk.

            Stochastic Oscillator and 14-RSI were found to yield profits in all 13 securities and top-ranked by the Airports of Thailand Public Co., Ltd (AOT). MACD was found to yield profits in its ranking, and Stochastic Oscillator, SMA for 25 days, and SMA for 10 days respectively. With regard to efficiency in signalling, Stochastic Oscillator, 14-RSI, and MACD performed well in guiding investment whereas the opposite was the case for both SMA 10 days and SMA 25days. When signals from technical instruments were compared with actual movements of stock prices, 14-RSI turned out to be the one with the highest probability of correct signals (0.57-0.96). The second and third best indicators were Stochastic Oscillator and MACD. One implied suggestion from this study is that short-term investors should follow the guidelines from the Stochastic Oscillator and 14-RSI. As for medium-term investors, MACD is likely to be more appropriate.    

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ชลิตพันธ์ บุญมีสุวรรณ, สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ

References

จินตธีร์ สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2542) . การสร้างรูปแบบเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการซื้อขายหลักทรัพย์. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณิธิชา ธรรมธนากูล. (2548) . การศึกษาเปรียบเทียบเครื่องมือวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคเพื่อทำนายสัญญาณซื้อขายหลักทรัพย์ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารบางหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ธุรกิจการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557 , จาก http://www.tsithailand. org/index.php?option=com_content&task =view&id=1816.

ธันยนันท์ นิมิตชัยวงศ์. (2554) . การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดธนาคาร . การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535) . การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุรีวิยาสาส์น.

ปริญญา ธิติธีรการย์ชัย. (2546). การวิเคราะห์ทางเทคนิคของผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาของหลักทรัพย์กลุ่มพลังงาน. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์สุทธิ พื้นแสน. (2552) . การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวีธี STOCHASTIC DOMINANCE . การศึกษาอิสระ เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัชรินทร์ ชัยวัง. ( 2552 ) . การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิค. การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาวิกร ยศพิมสาร. ( 2547) . การประเมินประสิทธิภาพการวิเคราะห์ทางเทคนิคของหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรพจน์ ตันยลักษณ์. (2547) . ประสิทธิภาพของเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคในการพยากรณ์การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรชัย ไชยรังสินันท์. (2547) . คู่มือการวิเคราะห์ทางเทคนิค. สืบคืนเมื่อ 1 ธันวาคม 2557, จาก http://inv1.asiaplus.co.th/cms/index2.php?sc= asp_educationzone-analyze.

เอกพิทยา เอี่ยมคงเอก. (2541) . การเปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลตอบแทน ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคและกองทุนปิด. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Investmentory. (2557). สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2557 , จาก http://www. investmentory.com/ .