ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตร ของครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

วรายุทธ พลาศรี

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถาม จำนวน 397 ครัวเรือน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายและการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคเส้นทางของอิทธิพล ส่วนข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนแบบเจาะลึก จำนวน 18 ครัวเรือน และการสังเกต ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 83.40 โดยหัวหน้าครัวเรือนมีอายุเฉลี่ย 50.97 ปี จำนวนปีที่ใช้ในการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเฉลี่ย 6.86 ปี ทั้งนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบกิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกข้าวร้อยละ 62.50 และครัวเรือนมีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.53 คน ส่วนประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตรของหัวหน้าครัวเรือนเฉลี่ย 22.84 ปี ทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 57,037.00 บาท โดยมีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 13.84 ไร่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ชลประทานเฉลี่ย 3.69 ไร่ ครัวเรือนมีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 53,397.00 บาทต่อปี ทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร กิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกผัก/ไม้ดอก กิจกรรมการเกษตรประเภทการเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมการเกษตรประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ขนาดพื้นที่ชลประทาน ทุน กิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้น เพศของหัวหน้าครัวเรือน และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตรของหัวหน้าครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ขนาดพื้นที่ทำการเกษตร กิจกรรมการเกษตรประเภทการเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมการเกษตรประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกพืชไร่ กิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกผัก/ไม้ดอก และกิจกรรมการเกษตรประเภทการปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้น   

The purposes of this research were to study the characteristics and factors influencing on agricultural income of household in Northeastern Thailand. Data were analyzed quantitative derived from questionnaire of 397 households with a multi-stage random sampling, the data collected were analyzed descriptively and path analysis. In addition, the researcher also collected qualitative data from in-depth interviews held with 18 household heads and from observation, using the method of purposive sampling. Findings showed that most of the household heads were males was 83.40 percent. The age of household heads average was 50.97 years. The number of years of education for the household heads average was 6.86 years. The most households were agricultural to grow rice was 62.50 percent. The number of household labor on average was 2.53 person. The average experience in the agricultural of household heads was 22.84 years. The capital of agricultural on average was 57,037.00 baht.  The area size of agricultural on average was 13.84 rai. The area size of an irrigation on average was 3.69 rai. Household income of the agricultural on average per year was 53,397.00 baht. The factors direct influencing on agricultural income of household at the statistically significant level of0.05 inorder from most to least were agricultural area size, agricultural to grow vegetables/flowers,  agricultural to livestock, agricultural to aquaculture,  irrigation area size, capital, agricultural to grow fruit/tree, gender of household head and experience in the agricultural of household head. The factors an indirect influencing on agricultural income of household at the statistically significant level of0.05 inorder from most to least were agricultural area size, agricultural to livestock, agricultural to aquaculture, agricultural to grow upland crops, agricultural to grow vegetables/flowers and agricultural to grow fruit/tree. 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

วรายุทธ พลาศรี, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558, จาก http : //www. Doae.go.th

เฉลิมศาสตร์ วิเชียรเพริศ. (2550). ภาวะความยากจนและการกระจายรายได้ของครัวเรือนเกษตรไทย ปีการเพาะปลูก 2547/48. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฐิติวรรณ ศรีเจริญ และวุฒิพงศ์ อาจริยอาจอง. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากจนของครัวเรือนเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย: กรณีศึกษาตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุณณปัณฑ์ ขันโมลี. (2553). การวิเคราะห์การกระจายรายได้ของครัวเรือนเกษตรกรไทย ปีเพาะปลูก 2550/51. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ธุรกิจการเกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วงศธร กฤตยกุลชาติ. (2554). การวิเคราะห์เปรียบเทียบการกระจายรายได้และปัจจัยที่ส่ง ผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรดอนเจดีย์ จำกัด และกลุ่มเกษตรกรในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรายุทธ พลาศรี. (2558). อิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อรายได้ของครัวเรือนในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนิรัช แก้วมี. (2549). การวิเคราะห์ภาวะความยากจนและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2544/45. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2555. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2549). ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

อานันท์ชนก สกนธวัฒน์. (2555). พลวัตของความยากจน: กรณีศึกษาครัวเรือนชาวนาในพื้นที่เขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New York : Englewood Cliffs, N.J :Prentice-Hall.