การพัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนที่ส่งเสริมความรู้เรื่องการทำงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนที่ส่งเสริมความรู้เรื่องการทำงาน การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ในเรื่องการทำงานและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 2) พัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนเรื่องการทำงานและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมให้กับผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาผลการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนเรื่องการทำงานและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา ฯ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาช่วงแรกเป็นนักเรียน นักศึกษา ที่ศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 202 คนโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา ฯ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทำงานและ
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมอยู่ในระดับที่น้อย (ร้อยละ 32.40) โดยส่วนใหญ่เห็นว่า ประชาคมอาเซียนไม่มี
ผลต่อความคิดและการกระทำของกลุ่ม (ร้อยละ 59.90) มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตามข้อตกลงของประชาคมอาเซียนระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.80) ไม่มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ (ร้อยละ 54.00) เคยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอาเซียนกับเพื่อนที่เรียน (ร้อยละ 60.40) และมีผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม(ร้อยละ 50) 2) การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียนดำเนินบนฐานข้อมูลของการศึกษาความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษา ฯ โดยแบ่งเป็น 4 ฐาน ฐานที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของ
เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา ไทย เวียดนาม ฐานที่ 2 ข้อมูลเบื้องต้นของมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ฐานที่ 3 แนวคิดการทำงาน/การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และฐานที่ 4 หลักการวิเคราะห์วัฒนธรรม
การทำงานของประเทศต่าง ๆ 3) กลุ่มเป้าหมายช่วงการพัฒนารูปแบบการจัดฝึกอบรม ฯ ได้แก่ นักศึกษา
จำนวน 30 คนที่ยินดีร่วมโครงการ เครื่องมือ คือ เนื้อหาและกิจกรรมการจัดฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม ผลการเขียนสะท้อนการเรียนรู้ของนักศึกษา ผลการทดสอบแต่ละศูนย์ วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า การฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียน
และการเรียนรู้แบบร่วมมือทำให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในรูปของกลุ่มทั้งด้านเนื้อหาสาระ การทำงานกลุ่มภายใต้การบริหารเวลา การนำเสนอ กระบวนการทำงานกลุ่ม ผู้นำและผู้ตาม การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจเรื่องประชาคมอาเซียน การทำงานข้ามวัฒนธรรม มีความสุขและสนุกในการทำกิจกรรมฝึกอบรมแบบศูนย์การเรียน ทุกคนที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจการอบรมแบบศูนย์การเรียนและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
The research on titled Development the Model of Training by Using Learning Center Towards Promotion Knowledge on Cross-cultural Management and Intercultural Communication for Students at Vocational Educational Level
aimed to: 1) study knowledge and understanding of students at vocational education level on cross-cultural management and intercultural communication 2) develop curriculum and training model by using learning center on cross-cultural management and intercultural communication for students at vocational education level 3) study the results of the training model by using learning center on cross-cultural management and intercultural communication. Samples for the first phrase composed of 202 Chiang Mai Vocational College students, research tool was a questionnaire on knowledge and understanding of cross-cultural management and intercultural communication. Data were analysed by percentage, mean and standard deviation. The findings were: 1) knowledge and understanding of students at vocational education level showed low at
32.40 %, they viewed the ASEAN Community expressed no affect to thinking and acting of them at 59.90 %. They were ready for ASEAN commitment at middle level at 67.80 %, no ability to communication with foreigners at 54 %, used to discuss with friends about ASEAN at 60.40 %. For 50 % were interested in training. 2) Curriculum created and designed based on the first pharse study and classified into 4 learning centers, a) information of Myanmar, Laos, Cambodia, Thailand, b) information of Malaysia, Singapore, Indonesia, Brunei, Philippines, c) concept of cross-cultural management and d) principles for management culture analysis. 3) Target group for training pharse composed of 30 students, research tools composed of curriculum, activities, observation form, reflective learning writing, and the results of tests. The results were: students learnt successfully both contents on ASEAN and cross-cultural mangment and activities by using learning center model and cooperative learning method. Data were analysed by content analysis. They practiced self-directed learning and group discussion, a leader and members of the group, oral presentation, and time management. All the students enjoyed the training model by using learning center.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
เอกสารอ้างอิง
กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2557). อุดมศึกษาไทย เวทีไทย เวทีโลก. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2559, จาก http://www. likmutt.c.th/SoTL/slide./KKbook_2557pdf.
จำเนียร ศิลปวานิช. (2538). หลักและวิธีการสอน. กรุงเทพฯ: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญยิ่ง ประทุม. (2555). ทิศทางการศึกษาของไทยในบริบทประชาคมอาเซียน. (หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ออนไลน์). [Online] . เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=28873&Key=hotnews
พรรณี ทองสุกใส. (2550). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องทัศนธาติสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ: การจัดการข้ามวัฒนธรรม. เชียงใหม่: The Knowledge center:
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2555). การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดการข้ามวัฒนธรรมและการวางแผนอาชีพเพื่อรองรับความเป็นภูมิภาคอาเซียนและระดับสากล. รายงานการวิจัยสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาอาชีวศึกษาและการส่งเสริมสุขภาวะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2557). การหนุนเสริมและการเตรียมความพร้อมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องการทำงานข้ามวัฒนธรรมเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. รายงานการวิจัยสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาอาชีวศึกษาและการส่งเสริมสุขภาวะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
เสาวลักษณ์ สุขวิรัช และกมล อดุลพันธ์. (2544). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
แอมโบรส ซูซาน เอ. (2010). การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21: 7 หลักการสร้างนักเรียนแห่งอนาคตใหม่. แปลจาก How Learning Works: Seven Research-Based Principles for Smart Teaching. โดย วันวิสาข์ เคน. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
Samovar, L., Porter, R. and Mcdantel, E. (Eds.). (2009). Intercultural communication: A reader. Boston, Mass: Wadsworth Cengage Learning.
WNET Education, Concept to Classroom, Workshop Cooperative and Collaborative Learning. (2004). What are cooperative and collaborative learning? [Online] Accessed November 4, 2014. Available from http://www.thirteen.org/edonline/concept2class/coopcollab.