พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์

Abstract

        งานวิจัยนี้เรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ 2) ศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต  3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและรูปแบบการดำเนินชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับรูปแบบการดำเนินชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ คือ t-test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ       ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและรูปแบบการดำเนินชีวิต โดยรวมในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและรูปแบบการดำเนินชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านอายุ สถานภาพอาชีพ ระดับรายได้ การศึกษาและที่อยู่อาศัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับรูปแบบการดำเนินชีวิต พบว่า สื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตโดยรวมมากที่สุด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านความคิดเห็นมากที่สุด สื่อเฉพาะกิจมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านความคิดเห็นมากที่สุด สื่อโดยรวมมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านความคิดเห็นมากที่สุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ สื่อมวลชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเฉพาะกิจ โดยตัวแปรทั้งสามสามารถพยากรณ์ความผันแปร ได้ร้อยละ 19.7 ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย การสื่อสารการตลาดถึงสูงอายุในจังหวัดภูเก็ต ธุรกิจควรให้ความสำคัญหรือมุ่งเน้นในด้านความสนใจของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะความสนใจเกี่ยวกับบ้านหรือที่อยู่อาศัย งาน และอาหารต่างๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ผลการวิจัยดังกล่าว ยังพบว่า ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต ฉะนั้น ธุรกิจควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นำมาประกอบการพิจารณาด้วย

                The purposes of this research were 1) to study the behavior of media exposure, 2) to study the lifestyle, 3) to compare the behavior of media exposure and the lifestyle by distinguishing of the personal factors, additionally, 4) to study the relationships between the behavior of media exposure and the lifestyle. The samples were 400 elderly persons with aged 60 years and over who lived in Phuket by stratified random sampling. The used statistics were t-test,  ANOVA, Pearson correlation coefficients, and multiple regression analysis.

                The results showed that 1) the behavior of media exposure and the lifestyle in general were at average, 2) the comparison between the behavior of media exposure and lifestyle by distinguishing of the personal factors found that the factors in age, marital status, occupation, income, education, and housing were different at statistical significance at the 0.5 level, 3) the relationships between the behavior of media exposure and the lifestyle found that the mass media related to the lifestyle generally at the highest level. The electronic media associated to the lifestyle in the opinion at the highest level. The specialized media related to the lifestyle in the opinion at the highest level. The overall media also related to the lifestyle in the opinion at the highest level at the statistically significance of the 0.1 level.  Additionally, 4) The behavior of media exposure affected to the lifestyle by descending respectively, such as the mass media, the electronic media, and the specialized media by predicting of three variables at the percentage of 19.7 The suggestion from the research results was in the factor of the marketing communications to the elderly persons in Phuket, the business should give a priority or focus on the interests of the elderly persons, especially the interests on a home or housing, occupation and various foods which were influenced by the media, especially media from television and radio. The research result found that there were other factors that affecting on the patterns of lifestyle. Therefore, businesses should also concern of the other factors involved into the consideration.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์, สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ภูเก็ต

ชื่อ                                   นายเศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์

วัน เดือน ปีเกิด                 10 กุมภาพันธ์ 2520  จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา               มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย        

                             บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ                                พ.ศ. 2542

                             มหาวิทยาลัยรามคำแหง

                             รัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์

                             พ.ศ. 2545

                             มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

                             บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด พ.ศ. 2546

ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน     หัวหน้างานกิจการนิสิตและหัวหน้างานวิจัย

                                อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด

ประสบการณ์ทำงาน              อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ

                                           มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ศูนย์ฯ ภูเก็ต

                                           ตั้งแต่ ปี 2554 – ปัจจุบัน

References

กรกมล บำรุงวัด. (2545). สภาพและวิถีชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์สังคม สงเคราะห์ศาตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จํากัด.

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล. (2543). การตลาดสู่ยุคสร้างสรรค์ไม่ใช่ยุคสร้างภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2557. จาก: http://www.mga.co.th/viewmarketing.php?id=64

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2556). กลยุทธ์การตลาด ในการเข้าถึงผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2557. จาก: http://www2.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter/index.php/2012-11-08-03-49-15/mnu-vol33-n06/91-vol33-no6/145-vol33-no6-issue11.html

ลัดดา จิตคุตตานนท์. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและการใช้ประโยชน์จากข่าวสารด้านการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือ. วารสารสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เลิศหญิง หิรัญโตร, (2545). รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงศ์มลฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทวิสิทธ์พัฒนา จำกัด.

__________. (2549). มองหาตลาดใหม่จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2557. จาก: http://www.manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx? NewsID=9490000060197

เสาวคนธ์ พนมเริงศักดิ์. (2549). การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2557). ตารางข้อมูลสถิติจากการสำมะโน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2557. จาก: http://phuket.old.nso.go.th/nso/project/search/

result_by_department.jsp

เสาวคนธ์ พนมเริงศักดิ์. (2549). การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

Assael, H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. Cincinnati, Ohio: South-Western College Publishing.

Darden, William R. and Fred D. Reynolds. (1974) Backward profiling of Male Innovators, Journal of Marketing Research, 11, 79-85.

Hoyer, W. D., & MacInnis, D. J. (2001). Consumer Behaviour. (2nd ed.). Boston: Houghton Mifflin Company.