ความคิดเห็นของอาจารย์ศูนย์การศึกษาวิทยาลัยทองสุข จังหวัดพิษณุโลก ต่อการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ศูนย์การศึกษาวิทยาลัยทองสุข จังหวัดพิษณุโลก ต่อการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ และบุคลากร จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที(t-test)และการทดสอบค่าเอฟ
(F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One–way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาโท และ
มีความเกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมในการวิจัยเป็นอาจารย์พิเศษ ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของอาจารย์ศูนย์การศึกษาวิทยาลัยทองสุข จังหวัดพิษณุโลกต่อการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่าโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เป็นเพราะสถาบันส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ และมีนโยบายสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคคลที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันมีความคิดเห็นการจัดการความรู้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This study aimed to study the Thongsook College Phitsanulok Teachers’ attitude towards knowledge management to enhance efficiency participatory action research. The participants in the study are 37 full-time lecturers, special instructor and staff. Questionnaire was used as a research tool to collect data. Descriptive analysis was adopted to analysis were as percentage, mean, standard deviation and Statistical hypothesis testing including t-test and F-test by analyzing one-way ANOVA.
The results of the study are found that most of the participants are women, 31-40 years old, graduated in Master degree, and working as the special instructors. The results analyses of Thongsook College Phitsanulok Teachers’ attitude towards knowledge management to enhance efficiency participatory action research are found in high level of both overall and parts. It is because the College supports the staff to participate in creating knowledge and supports the budget for research conduction. The research work is an indicator to evaluate their performance. Considering into each part, it can be ordered from the highest to the lowest scores as knowledge creation and acquisition, knowledge gathering and access, knowledge sharing, knowledge application and knowledge indication, respectively. Hypothesis testing found different personal factors knowledge management to enhance efficiency participatory action research has difference was statistically significant at the 0.05
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรรณิการ์ พราหมณ์พิทักษ์. (2542). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
กริชเพชร โสภาพ. (2552). การนำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองยางห้วยสะแบกอำเภอเลิงนกทาจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
จำเริญ จิตรหลัง.(2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง.
ใจชนก ภาคอัต. (2557). การจัดการความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. การค้นคว้าอิสระคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์. (2557). การใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 10(1), 3-15
ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ในตะวัน กำหอม. (2552). การจัดการความรู้ในหน่วยงานวิทยาลัยทองสุข. การวิจัยเพื่อการค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข.
ผกาพันธ์ อินต๊ะแก้ว. (2552). รูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มโรงเรียนสาธิต. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สาหรับหน่วยงานภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2551).การจัดการความรู้: สังกัปทางทฤษฎี. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป