การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชน
ชนเผ่ามูเซอแดงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ ผู้ปกครอง ของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 10 คน ครูผู้สอนหรือเคยสอนเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง จำนวน 10 คน และเยาวชนชนเผ่ามูเซอ จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่ม
แบบเจาะจง ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง ส่งผลให้เยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง
อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีพฤติกรรมทางทักษะทางสังคมที่เห็นได้ชัดมากที่สุด คือ ทักษะทางสังคมด้านจิตสาธารณะ เนื่องจากทักษะด้านจิตสาธารณะสามารถดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม
และมีพฤติกรรมที่แสดงออกชัดเจน และทักษะทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด คือ ทักษะความซื่อสัตย์สุจริต เนื่องจากการพัฒนาทักษะความซื่อสัตย์สุจริต นั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่นานมากขึ้น
ทั้งนี้ เยาวชนชนเผ่ามูเซอแดงมีพฤติกรรมทางทักษะทางสังคมที่อยู่ในระดับดีมาก เนื่องจากรูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดงที่จัดทำขึ้น เป็นรูปแบบที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดทำ จึงจัดทำรูปแบบได้เหมาะสม ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดง
This dissertation has 1 objective, this is studying the results of the model intervention for capacity building of Red Lahu Youth in Pangmapha District, Maehongsorn Province. The study representative sample are 4 groups; caregivers of Red Lahu Youth 10 people, intellectuals and local wisdom 10 people, teachers who taught those Red Lahu youths 10 people, and Red Lahu youths 10 people, themselves from purposive sampling. The Instrumentation are the In-Depth Interview, Focus Group and the questionnaire. The qualitative analysis by interpretation of its contents. The research finding is the results of changing in learning process of social skills has been summarized that youths who attended the activities according to capacity building of social skills for Youth Red Lahu in Pangmapha District, Maehongsorn. The most changing social skill is Public Consciousness and the least changing social skill is the Upright Skill. And all of the social skills are improving in the good level because the model intervention for capacity building of Red Lahu Youth in Pangmapha District Meahongsorn Province use the community based for creating so the model is appropriate for The Red Lahu Youth
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมวิชาการ. (2557). คู่มือแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557, จาก www.nongkhoo.in.th/files/downloads/nk3.doc
กระทรวงศึกษาธิการ. (25510). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ, กระทรวงศึกษาธิการ
กัญญา สมบูรณ์ .(2559).รูปแบบการเสริมสร้างทักษะทางสังคมของเยาวชนชนเผ่ามูเซอแดงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน.
จรีลักษณ์ รัตนาพัทธ์.(2557). ทักษะทางสังคม. สืบคืนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558, จาก http://jareeluk.blogspot.com/2014/09/blog-post_27.html.
จิรวัฒน์ สืบเสนาะ .(2557). ชีวิตและวัฒนธรรมไทย. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2557,
จาก http://jitiwat1234.blogspot.com/p/1_4213.html.
เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล. (2542). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ. โครงการบูรณาการหมวดศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2554). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา.
นัดดา อังสุโวทัย .(2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตยา นีรนาทโกมล.(2557). ทำไมต้อง 21 วัน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2557,
จาก http://www.upperknowledge.com/ArticleDetail.aspx?id=63
นิตยสารการศึกษาวันนี้.(2551). ฉบับวันพฤหัสบดีที่29 พฤษภาคม 2551. วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2551, จาก http://www.kriengsak.com/node/1646
บรรลุ ศิริพานิช. (2552) สร้างกําลังใจให้แข็งแรง.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
แพรภัทร. (2557). พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557. จาก https://www.gotoknow.org/posts/236980
มูลนิธิกระจกเงา. (2534). พิพิธภัณฑ์ชนเผ่า. องค์การพัฒนาเอกชน. เชียงราย.
เรวัฒน์ อรัญภูมิ. (2542). ผลกระทบของการศึกษานอกระบบโรงเรียนต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอแดง : ศึกษาเปรียบเทียบกรณี บ้านป่ายางกับบ้านปางตอง. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สวัสดีดอทคอม. (2557). ลาหู่ หรือมูเซอ. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2557, จากhttp://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html
อณูทิพย์ ธารทอง. (2538). 16 ปี ป่งใบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แนวหน้า
อุไร สุมาริธรรม. (2546).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2557, จาก
http://www.arachinds-soft.com/reserch/index.html.
อุษณีย์ โพธิสุข. (2554). สร้างสรรค์นักคิด : คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง
Maxwellmaltz. (1969). Psycho-cybernetic. A new way to get more living out of life. U.S.A.
Morrow, K. (1989). “Principle of Communicative Methodology.” In Communicative in the classroom. Longman Group Ltd.