แนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันตามคุณลักษณะด้านทักษะและ อาชีพในศตวรรษที่ 21 ของเจเนอเรชั่นวายและเจเนอเรชั่นเอ็กซ์

Main Article Content

เสฎฐวุฒิ หนุ่มคำ
สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ
สมปรารถนา ประกัตฐโกมล

Abstract

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันของ
เจเนอเรชั่นวายและเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนานักศึกษาในเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนา
สหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ประชากรที่ศึกษา  คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ประจำปีการศึกษา 2558 จากสถาบันในเครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน จำนวน 14 สถาบัน โดยคัดเลือกนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่อยู่ในช่วงเจเนอเรชั่นวายซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมตัวไปฝึกงานในสถานประกอบการมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย จำนวน 450 คน และตัวแทนจากสถานประกอบการที่สถาบันการศึกษาจัดส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกงาน จำนวน 9 บริษัท เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมี
โครสร้าง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการศึกษา แนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้ตอบแบบสอบถามเจเนอเรชั่นวาย พบว่า
ส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็น “มากที่สุด” ใน 6 ประเด็น ได้แก่ ความต้องการให้งานสำเร็จอยู่เสมอ ชอบการร่วมมือกันทำงานมากกว่าการแข่งขัน มีความต้องการทำงานที่ท้าทายและได้พบสิ่งใหม่ ๆ ทำงานด้วยความรับผิดชอบ มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และยอมรับผลผลิต  ที่เกิดขึ้นด้วยความชื่นชม ขณะที่แนวคิดและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของผู้ตอบแบบสอบถามเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ พบว่า  มีระดับความคิดเห็นในด้านการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวได้ มีความกระตือรือร้น สนใจงานที่ท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์ มีวินัยในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความตรงต่อเวลา สามารถทำงานภายใต้กรอบวัฒนธรรมองค์การได้ สามารถวางแผนและจัดเรียงลำดับความสำคัญของงานได้ดี มีทักษะการประสานงานการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และจากการศึกษาในครั้งนี้ คณะนักวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักศึกษา ได้ 3 ด้าน ดังต่อนี้ 1) ด้านการพัฒนาผู้เรียน: ดำเนินการพัฒนาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวินัยในการทำงาน ด้านทักษะการทำงานร่วมกัน ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการนำเสนอ ด้านพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์สื่อสารและเครือข่ายสังคมออนไลน์ และด้านแนวคิดการให้ความสำคัญกับกระบวนการและผลลัพธ์ โดยควรเป็นการดำเนินการทั้งในระดับสาขาวิชา คณะวิชา สถาบัน และเครือข่าย 2) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน: ดำเนินการใน 2 ส่วน คือ การพัฒนาองค์ความรู้ที่ลึกและครอบคลุม และการสร้างประสบการณ์ตรงในสายงานแต่ละด้าน  3) ด้านการพัฒนาหลักสูตร: ดำเนินการใน 2 ส่วน คือ การกำหนดกระบวนการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในการพัฒนาหลักสูตร และการสำรวจความต้องการของสถานประกอบการในสายวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

The objectives of this study were to explore the concept and work behavior and collaborative between generation Y and generation X and to explore the guideline of the student development in the Upper North Collaborative Education Network. The population were undergraduate students, 2015 academic year from 14 institutions in the Upper North Collaborative Education Network; selected 450 sophomore and junior students who were generation x and preparing themselves to be the apprentice in enterprises for the representative sample of this study; and 9 representative samples of enterprises where the institutions sending students to enterprise for apprentice. The data colleting method were questionnaire and semi-structured in-depth interview form. Data analyzed by using frequency, percentage, average and content analysis.

                According to generation Y responses to the concept and work behavior questionnaires, the results shows that the six components that they feel “strongly agree” are work achievement, collaborative working, intercultural knowledge, work challenging, work responsibility, and proud of work accomplishment. Whereas, the responses of generation X toward the concepts of work behavior are team work, self-adjustment, work challenging, creativity, discipline (Punctuality), work under community of practice (COP), work planning and priority management, effective coordination, and technology literacy.  The findings can guide the adjustment of a policy of students’ development in three ways:  1) the development of learners: work discipline, team work skills, technology for presentation skills, digital literacy, and concepts of processes and outputs of working. These should be a cooperation of departments, faculties, educational institutions, and networks, 2) the development of learning and teaching process: the development of comprehensive knowledge and providing an authentic work experiences, 3) the development of curriculum: the assignation of participations of in curriculum development and needs exploration of the profession development of the companies.

Article Details

Section
Research Articles

References

กานต์พิชชา เก่งการช่าง. (2556). เจเนอเรชั่นวายกับความท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล.

วารสารสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์. 2(1), หน้า 15 – 27.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (กรกฎาคม – กันยายน 2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจเนอเรชั่นวายและ

แรงจูงใจในการทำงาน : มุมมองระหว่างเจเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์.

(121). หน้าที่ 1 – 25.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ. พิมพ์ดู.

พรรณวดี สถิตถาวร และประจวบ เพิ่มสุวรรณ. (2553). ทัศนคติของคนรุ่น Gen Y ต่อการทำงานใน

ระบบราชการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ฉบับที่ 9, หน้าที่ 177 – 190.

เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์. (2550). GENERATION Y ตบเท้าเข้าสู่โลกธุรกิจ. [Online] เผยแพร่ 5 มิถุนายน

ค้นใน http://www.positioningmag.com/content/generation-y-ตบเท้าเข้าสู่โลกธุรกิจ.

อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทักษะชีวิตและงานอาชีพ สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. [Online]

เผยแพร่ 25 กันยายน 2556. ค้นใน

https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/life-and-career-skills.

PWC. (2558). วิจัยคน “Gen-Y” ในองค์กรพุ่งปี 2559 แนะธุรกิจปรับกลยุทธ์คนรุ่นใหม่-เก่า ต้านปัญหา

สมองไหล. [Online] Thanachart Blog เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2556 ค้นใน

http://thanachart.in.th/วิจัยคนgen-y-ในองค์กรพุ่งปี-25.