การพัฒนาสื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชนในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในพื้นที่เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาสื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการพัฒนาสื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและช่วยออกแบบเนื้อหาบทเรียน ประกอบด้วย ตัวแทนผู้สูงอายุ จำนวน 1 คน และครูจำนวน 2 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้เรียนที่ศึกษาบทเรียนในสื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สมุนไพรเพื่อสุขภาพที่พัฒนาขึ้น คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนชุมชนวัดช่อแล และโรงเรียนป่าจี้วังแดงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องสมุนไพรเพื่อสุขภาพ บทเรียนสมุนไพรสวนครัว แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบท้ายบทเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจกลุ่มผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - test) โดยงานวิจัยนี้กำหนดประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์
ที่ระดับ 80.00/80.00
ผลการวิจัยพบว่า ในชุมชนมีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย โดยจำแนกตามกลุ่มอาการของโรค ได้ 15 กลุ่ม มีการนำภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพรมาจัดทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย จำนวน 2 ชนิด มีการใช้พืชผักสวนครัวเป็นสมุนไพร จำนวน 10 ชนิด และพบสมุนไพรอื่นๆ ในท้องถิ่น จำนวน 15 ชนิด ผลการประเมินสื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์เรื่อง สมุนไพรเพื่อสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สื่อการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด กลุ่มผู้เรียนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
มีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 52.50 บทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 81.52/81.54
การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 8.71 และ 24.46 ตามลำดับ โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานสื่อการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
The objectives of this research aimed to study the context of healthy herbs usage in Mueang Kaen Pattana municipality area, Tambon Chor Lae, Mae Taeng district, Chiang Mai province and to develop an
e - learning system related to healthy herbs by the community participation process, and to evaluate the learning achievements related to the healthy herbs. The Participatory Action Researcher concept was applied to develop the e - learning system. The sampling group was divided into two groups. The first group was people who are healthy herb experts and designed its lesson contents, and the second group was the students who have been studied about healthy herbs via the developed e - learning, all of 52 students were in the primary schools named Chum Chon Wat Chor Lae School and Phaji Wang Dang Wittaya School. The employed research Instruments including a questionnaire, the e - learning system on healthy herbs, herbal kitchen lessons, the pretest and posttest exams, the end of lesson exams, and the satisfaction questionnaire. The data was analyzed using the mean (), the standard deviation (S.D.) and the t-test, and the research was designed on 80.00/80.00 basis to determine the efficiency of the lessons.
For the result, it was found that the usage of healthy herb in this study area was divided to 15 categories, grouped by symptomatic treatment. The local wisdoms about healthy herb were used to make 2 commercial products. Furthermore, there were 10 herbs that found in the backyard garden and 15 other herbs found in the local area. The assessment by the expert revealed that the e-learning system was at highest level of appropriateness. After using the e-learning system with the purposive sampling group of students, the average percent of learning progress was 52.50, the lessons efficiency was 81.52/81.54, the test of learning achievement showed the pre-test of 8.71 and the post-test of 24.46 that the post-test was higher than the pre-test at the significant level of .01, and also their satisfaction was at the high level.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
ณรงค์ฤทธิ์ เรือนก้อน และคณะ. (2551). การใช้ยาสมุนไพรในกลุ่มประชากร ต.มะขามสูง อ.เมือง จ.พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2558, จาก Http://www.med.nu.ac.th/chem/New%20Folder%20(2)/New%20Folder/Research/Download/Research5/รุ่น5-3/คลินิก/5.การใช้ยาสมุนไพร.doc
ณัฐวุฒิ ธนัญชัย. (2551). การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการพัฒนาฐานข้อมูลธรรมชาติแม่น้ำสาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธรรมนูญ จินดา. (2553). พฤติกรรมการใช้ประโยชน์สมุนไพรไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พนิดา โนนทิง และคณะ. (2556).สถานการณ์และปัญหาอุปสรรคการใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐ.สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556, จาก Http://pharm.kku.ac.th/isan-journal/journal/volumn9-no1/001-Abstract/Page29.pdf
รพีพร เทียมจันทร์. (2557). ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านสมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556, จาก Http://www.research.
cmru.ac.th/2014/ris/researcher_ris.php?rsc_id=613
รังสรรค์ ชุณหวรากรณ์. (2545). โลกแห่งสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556, จาก http://www.angelfire.com/ri2/rangsan/important.html
สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ .วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(1), 25-37.
สามารถ ใจเตี้ย (2557). การพัฒนาบทเรียน เรื่อง การประเมินผลกระทบสุขภาพชุมชนสําหรับนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8(1), 154-162.
สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2546). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สุกิจ ไชยชมพู และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในเขต 11 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์, 19(2), 60-74.