การกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงาน: พฤติกรรม ที่มาและผลกระทบ และการป้องกัน
Main Article Content
Abstract
การกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงานเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่เกิดขึ้นซํ้าและต่อเนื่อง มีความเกี่ยวข้องกับ
ความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจระหว่างผู้กระทำกับเป้าหมาย พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงาน
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกที่เกี่ยวข้องกับงาน 2) พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแก
ทางจิตวิทยา และ 3) พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกทางกาย การกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงานเกิดขึ้นจากปัจจัย
ส่วนบุคคลและปัจจัยด้านองค์การ โดยมีผลกระทบต่อการทำงาน สุขภาพ และคุณลักษณะทางเจตคติของ
พนักงาน รวมทั้งผลกระทบต่อผลิตภาพ ต้นทุน วัฒนธรรม และชื่อเสียงขององค์การ ในการลดการเกิดขึ้น
ของการกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงาน องค์การควรได้มีการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปราศจาก
การกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงานโดยการกำหนดนโยบายขึ้นมาเพื่อป้องกัน เช่น การกำหนดวิธีการรายงาน
พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแก กระบวนการในการจัดการกับพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกและการฝึกอบรม
เพื่อลดพฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกกันในที่ทำงาน เป็นต้น
Workplace bullying is a negative behavior that occurs repeatedly and continuously. Workplace bullying is associated with inequality of power between the actor and the target. Bullying behavior in the workplace was divided into three categories: 1) bullying related to work, 2) psychological bullying, and 3) physical bullying. Workplace bullying caused by personal factors and organizational factors. Bullying is affecting on work, health and affective domain of personnel, also the productivity, cost, culture, and the organization’s reputation. Organization should build a working environment free from bullying by creating the policy to prevent such as the determining how to report bullying behavior, the process of dealing with bullies and bullying behavior, and providing the training program to reduce workplace bullying.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.