ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความต้องการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ความต้องการบริการสุขภาพและเปรียบเทียบความต้องการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล
นครพิษณุโลก (โซน3) ตามตัวแปร เพศ ระดับการศึกษา อาชีพแหล่งรายได้และความเพียงพอของรายได้
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก (โซน 3) ในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 361 คน
ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าทีแบบอิสระ และสถิติการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า เมื่อพิจารณาคะแนนความสามารถ
ในการปฏิบตั กิ จิ วัตรประจำวันโดยรวมของกลุม่ ตัวอยา่ งแลว้ สามารถจำแนกประเภทของผูส้ งู อายุอยูใ่ นกลุม่ ที่ 1
คือผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชนและสังคมได้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการบริการ
สุขภาพทุกด้านในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความต้องการบริการสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่มีแหล่งรายได้ต่างกัน มีความต้องการบริการสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ในขณะที่ความต้องการบริการสุขภาพจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความเพียงพอของรายได้
ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นในการจัดบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ อาจต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถ
ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุเป็นรายกรณี รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับแหล่งรายได้ของ
ผู้สูงอายุแต่ละรายด้วย
The purposes of this descriptive research were to examine abilities to perform daily
activities, needs for the health services, and compare needs for the health services of elders in
Phitsanulok municipality (zone 3)by sex, education levels, career, source of income, and the
sufficiency of income. The samples were 361 elders aged 60 years and older living in Phitsanulok
municipality, 2015.The interview was used to collected data. Data were analyzed using frequency,
percentage, mean, standard deviation, t test, and F-test.The results of the study showed that when
considering the abilities to perform daily activities of elders, the results of the study showed that
most of elders were in the first group who were able to take care of themselves, as well as other
people, communities, and society.The needs for health services in all dimensions of sample were
at the high levels. The needs for health services of the elders with different source of income were
significantly different, whereas the needs for health services of those with different sex, education
levels, career, and the sufficiency of income were not different. Therefore, providing health care
services for elders should consider if it is appropriate with their abilities to perform daily activities
and also their sources of income.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 –
. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.
กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานการ
สำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.
เฉลิมพล ทรัพย์อุไรรัตน์, อภิชาต ใจอารีย์, และสันติ ศรีสวนแตง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ. ปีที่ 7(ฉบับที่ 2), หน้า 187-202.
ชญานิศ ลือวานิช, , รัตนา ลือวานิช และโสมรัตน์ บัณฑิตเลิศรัตน์. (2554). ภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสร้าง
เสริมสุขภาพ และความต้องการของผู้สูงอายุจังหวัดภูเก็ตต่อบริการสุขภาพที่พึงประสงค์เพื่อรองรับ
สังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ปีที่ 23(ฉบับที่ 1), หน้า 28-41.
ผานิตา พงษ์เศวต. (2551). การเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุ อำเภอดำเนินสะดวก
จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
(2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิช
ชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่
(ฉบับที่ 1), หน้าที่ 73-82.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลเบื้องต้น สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557.
กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อุทัย สุดสุข. (2552). การศึกษาสถานการณ์ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และ
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.