ความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Main Article Content

ชีวิน สุขสมณะ
อิซาโอะ ยามากิ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น 5 ด้าน คือ  ด้านเนื้อหาหลักสูตร  ด้านกระบวนการเรียนการสอน  ด้านการวัดและประเมินผล  ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านผู้สอน (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นจำแนกตามเพศ (3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นมีภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.52  รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านกระบวนการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 , 4.36 , 4.15 และ 4.14 ตามลำดับนักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีความพึงพอใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นแตกต่างกันทั้งการมองในภาพรวมและแยกเป็นรายด้าน ด้านความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้าน โดยมีข้อเสนอแนะว่าให้เพิ่มเวลาเรียนภาษาญี่ปุ่นให้มากขึ้น


The purposes of this research were (1) to explore the satisfaction in studying Japanese regarding five aspects: core curriculum; teaching and learning process; evaluation methods; teaching aids and media; and lecturers, (2) to compare the levels of satisfaction in studying Japanese using the following variables sex,
(3) to investigate opinions and suggestions about the teaching and learning process of the classes. The population used in the research was 25 undergraduate students of The Far Eastern University who enrolled in Japanese classes. The data was collected using questionnaire and was later analyzed using three statistical methods which were frequency, mean, and standard deviation. The result showed that the overall level of satisfaction in studying Japanese of the students was at very satisfied (Mean = 4.31). Regarding each aspect, the lecturersreceived the highest mean, at 4.52, with the core curriculum; evaluation methods; teaching aids and media; and teaching and learning process following respectively (Mean = 4.39, 4.36, 4.15, and 4.14).


Moreover, the levels of satisfaction in studying Japanese, both overall and in each aspect, of male and female students were not different. On the other hand, students from different majors showed different levels of satisfaction, both overall and in each aspect. As for opinions and suggestions, the students were very satisfied overall and suggested that more time should be added to the Japanese classes.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

ชีวิน สุขสมณะ, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อิซาโอะ ยามากิ, สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2544).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

กุลกัญญา จรเพ็ง(2552) .ภาวะการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในประเทศไทย ปี 2552(มกราคม-มิถุนายน): สำนัก ความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ

กฤษณา นรนราพันธ์.(2544). ผลการใช้รูปแบบการมอบหมายงานแบบการจัดการผู้ป่วยต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติการพยาบาล ความพึงพอใจของพยาบาลและผู้ป่วย. ชลบุรี.ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (พย.ม. การบริหารการพยาบาล).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจริญ ศาสตรเวหา.(2539). ความพึงพอใจของนักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการสอนวิชาพลศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (ค.ม. พลศึกษา). กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี.(2545).กลุ่มสัมพันธ์:เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ:ศูนย์ หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีระ สุภาวิมล.(2551).ความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองอ่างทองที่มีต่อการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ปีการศึกษา 2550.กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (กศ.ม. พลศึกษา),บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประภา ตุลานนท์. (2540). ความพึงพอใจต่อสภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาทางไกลสายสามัญระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอชายแดนของจังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. การศึกษาผู้ใหญ่). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ

ปฏิพงศ์ จงรู้ธรรม.(2547). ความพึงพอใจในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2546.กรุงเทพฯ.ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (กศ.ม. พลศึกษา).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มหาลาภ ป้อมสุข. (2548). ความพึงพอใจในการเรียนพลศึกษา ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี ปีการศึกษา 2547. กรุงเทพฯ.ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (กษ.ม. พลศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แว่นแก้ว พ้นภัย. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนเรื่องเศรษฐศาสตร์ในครอบครัวโดยการสอนแบบสตอรี่ไลน์กับการสอนแบบเกม สถานการณ์จำลอง. กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (กศ.ม. การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2530). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

สันติ บูรณะพาณิชย์กิจ. (2552). ภาพรวมการลงทุนโลก ปี 2552 (มกราคม-มิถุนายน). กรุงเทพฯ. สำนักความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ.

หทัยรัตน์ ประทุมสูตร. (2542). ความถึงพอใจการปฏิบัติงานพยาบาลในโรงเรียนพยาบาลของรัฐและเอกชน ในจังหวัดเชียงใหม่. พิษณุโลก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (กศ.ม. การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกเทศ แสงลับ. (2552). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต (กศ.ม. เทคโนโลยี). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Board of Investment. (2552). Foreign Investment. 28 oct 2009 Online

http://www.boi.go.th/thai/download/investment_foreign/135/JAP_096.pdf.

Japan Foundation. (2012). Survery report on Japanese-report Education Abroad 2010. 19 Aug 2016 Online :https://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/survey/result/dl/survey_2012/2012_s_excerpt_e.pdf

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education 3rd ed. New York : MeGrow-Hill book